Page 20 - TH Edition Ver3
P. 20
18
1. ทรงแสดงตามพระอัธยาศัยของพระองค์เองโดยไม่ต้องมีผู้ใดทูลขอให้ทรงแสดง (อัตตัชฌาส
ยะ)
2. ทรงแสดงตามพระอัธยาศัยของผู้อื่นที่ทรงตรวจดูด้วยพระญาณกอนเสด็จไปโปรด (ปรัชฌาส
่
ยะ)
3. ทรงแสดงตามค าทูลถาม (ปุจฉาวสิกะ)
4. ทรงแสดงตามเรื่องหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆ (อัตถุปปัตติกะ)
โครงสร้างของพระสูตร
จากการศึกษาพระสุตตันตปิฎกทั้งหมดในพระไตรปิฎก ผู้ศึกษาจะเห็นได้ว่า พระธรรมเทศนา
และธรรมบรรยาย ที่เป็นพระสูตร จะมีโครงสร้างของพระสูตรที่มีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วน ซึ่งเป็น
บรรทัดฐานของการพูดหรือการเขียนที่ศึกษาเล่าเรียนกันในปัจจุบัน องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนที่รวมเป็น
โครงสร้างของพระสูตรได้แก่
1. ค าขึ้นต้นหรือข้อความเบื้องต้น (นิทานวจนะ) ในพระสุตตันตปิฎก ที่เป็นพระสูตรต่างๆ มี
ข้อความขึ้นต้นว่า “เอวม̣เม เม สุต ” (เป็นเช่นนั้นที่ข้าพเจ้าได้สดับมา) เป็นข้อความที่
พระอานนท์กล่าว และต่อจากนั้น จะเป็นข้อความที่บอกถึงความเป็นมาของพระสูตร
นั้นๆ
ุ
2. เนื้อหาของพระสูตรหรือข้อความที่เป็นพระพทธสุภาษิตหรือสาวกภาษิตเป็นข้อความที่
ต่อจาก นิทานวจนะ
3. ค าลงท้ายหรือข้อสรุป (นิคมวจนะ) ได้แก่ข้อความที่ต่อจากเนื้อหาของพระสูตร เช่น
ข้อความที่ขึ้นต้นด้วย “อิทมโวจ ภควา”
ลักษณะของพระธรรมเทศนา และธรรมบรรยายที่เป็นพระสูตร
ลักษณะของการแสดงพระธรรมเทศนาและธรรมบรรยายของพระพทธเจ้าและอรหันตสาวก
ุ
1
ที่ปรากฏในพระสูตรแต่ละสูตร เป็นค าสอนที่เรียกว่า “นวังคสัตถุศาสน์” คือค าสอนของพระศาสดามี
องค์ 9 ซึ่งหมายความว่า ในแต่ละสูตรมีรูปแบบอย่างหนึ่งหรือหลาบยอย่างในรูปแบบ 9 อย่างแห่ง
พุทธพจน์ ได้แก ่
1 ศึกษารายละเอียดได้ใน พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พ.ศ. 2558 ข้อ (302)