Page 25 - การวจยทางการศกษา v.7_Neat
P. 25
บทที่ 2 กำรก ำหนดปัญหำกำรวิจัย
ในการท าวิจัย ผู้วิจัยจ าเป็นต้องก าหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการศึกษาวิจัยให้
ชัดเจน ถามตนเองว่ามีความสนใจในเรื่องใด ต้องการตอบปัญหาอะไรหรือต้องการค าตอบ
อะไร การศึกษาในปัญหาที่แคบแต่ลึกจะท าให้เกิดความชัดเจนในการท าวิจัยมากกว่า
ศึกษาปัญหาที่กว้างจนจับอะไรไม่ได้ ก่อนอื่นผู้วิจัยต้องส ารวจข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาหรือ
เรื่องที่จะศึกษานั้นๆว่ามีข้อมูลเพียงพอหรือไม่ นั่นก็หมายความว่าผู้วิจัยต้องก าหนดปัญหา
และวางแผนการวิจัยก่อน
2.1 หลักกำรก ำหนดปัญหำกำรวิจัย
ในการก าหนดปัญหาการวิจัยมีหลักการก าหนดปัญหาดังนี้ (รวีวรรณ ชินะตระกูล.
2536:17)
1. ศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาที่จะศึกษา
2. เป็นประเด็นที่น่าสนใจ
3. พยายามเลือกปัญหาใหม่ไม่ซ้ ากับปัญหาเดิมที่มีผู้วิจัยไว้แล้วแต่ถ้ามีความ
จ าเป็นอาจศึกษาซ้ าโดยเปลี่ยนระเบียบวิธีวิจัยใหม่
4. ก าหนดขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจน
5. ใช้ภาษาที่เป็นทางวิชาการ ไม่ใช่ภาษาพูด มีความกะทัดรัดและใช้ค าถูกต้อง
6. ไม่ยืดยาวจนน่าเบื่อหน่าย
7. มีข้อมูลอ้างอิงท าให้น่าเชื่อถือ เพื่อให้ผู้อ่านจะได้เข้าใจว่าเป็นปัญหาที่มี
พื้นฐานมาจากข้อมูลเชิงประจักษ์
8. จัดล าดับประเด็นปัญหาให้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องกัน ควรเริ่มจากปัญหาที่กว้างๆ
(แต่ไม่กว้างจนเกินไป) จากภูมิหลังทั่วไปของปัญหาและจบด้วยปัญหาที่เราจะศึกษาให้
ชัดเจน
9. เป็นประเด็นที่น่าเป็นประโยชน์ ผลการวิจัยสามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้จริง
10. อยู่ในวิจัยที่ผู้วิจัยสามารถที่จะท าได้ทั้งในแง่ของเวลาและค่าใช้จ่าย
2.2 กำรวิเครำะห์สำเหตุของปัญหำที่จะน ำมำท ำวิจัยได้อย่ำงเหมำะสม
แหล่งที่มำของของปัญหำ
ผู้วิจัยสามารถค้นแหล่งที่มาของปัญหาที่เราสนใจจะศึกษาได้หลายทาง