Page 26 - การวจยทางการศกษา v.7_Neat
P. 26
1. จากการอ่านเอกสาร ได้ต ารา บทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้วิจัย
สนใจ โดยเฉพาะทฤษฎี
2. จากงานวิจัยที่ผู้อื่นท าไว้แล้ว เช่น วารสารการวิจัย และปริญญานิพนธ์ หรือ
วิทยานิพนธ์ ซึ่งจะมีข้อเสนอแนะส าหรับการท าวิจัยในครั้งต่อไป ซึ่งช่วยให้เป็นแนวทางใน
การวิจัย
3. จากการอ่านบทคัดย่อปริญญานิพนธ์ หรือบทคัดย่อรายงานการวิจัยที่ได้
รวบรวมไว้เป็นเล่มของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
4. จากข้อเสนอแนะหรือข้อคิดของผู้รู้ ผู้ช านาญ ในเรื่องที่ตนสนใจ
5. จากข้อโต้แย้ง หรือวิพากษ์วิจารณ์ของบุคคลในวงการที่เราสนใจ
6. จากการจัดสัมมนา และอภิปรายปัญหาต่าง ๆ ในเรื่องที่ผู้วิจัยสนใจอยู่ใน
ขณะนั้น
7. ศึกษาปัญหาจากสถาบันหรือหน่วยงานที่ตนเองท างานอยู่
8. ศึกษาจากหน่วยงานที่ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย ซึ่งมักจะมีกรอบส าหรับ การ
ท าวิจัยไว้ให้
2.3 กำรก ำหนดวัตถุประสงค์กำรวิจัย
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นทิศทางของการด าเนินการวิจัยเพื่อท าให้เกิดความ
ชัดเจนว่าการวิจัยเรื่องนั้น ๆ ต้องการศึกษาอะไรและด้านใดบ้าง มีวัตถุประสงค์หลักหรือ
วัตถุประสงค์ย่อย ๆ อะไรบ้าง โดยปกติวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยท า
ให้ชื่อเรื่องหรือปัญหาการวิจัยมีความชัดเจนมากขึ้น การตั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัยควร
จัดเรียงตามล าดับความส าคัญ โดยข้อแรก ๆ ควรเป็นวัตถุประสงค์ที่ตรงหรือสอดคล้องกับ
ชื่อเรื่องหรือหัวข้อวิจัย ส่วนข้อต่อ ๆ ไปจึงเป็นวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษารองลงมา
หลักเกณฑ์กำรเขียนวัตถุประสงค์ของกำรวิจัย
1. เขียนให้สอดคล้องหรืออยู่ในขอบข่ายของประเด็นปัญหาการวิจัย
2. เขียนเป็นประโยคบอกเล่าให้ชัดเจน และใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
3. เขียนให้ครอบคลุมเรื่องหรือประเด็นปัญหาที่ต้องการศึกษา และชี้
เฉพาะเจาะจง
ว่าผู้วิจัยต้องการจะท าอะไร ต้องการค้นหาค าตอบอะไร