Page 1 - บทที่ 10 เสียง
P. 1
1
บทที่ 10 เสียง
10.1 ธรรมชาติและสมบัติของเสียง
เสียงเกิดจากการสั่นของวัตถุ เสียงจากแหล่งกำเนิดเสียง ต้องอาศัยตัวกลางในการถ่ายโอนพลังงาน
การสั่นของแหล่งกำเนิดเสียงนั้นไปยังที่ต่าง ๆ
ทำการทดลองเพื่อศึกษาสมบัติของเสียง จากการทดลองเมื่อใช้ลำโพง 2 ตัวต่อพ่วงกัน (ลำโพงมี
ความถี่เท่ากันเพราะให้เสียงจากเครื่องกำเนิดสัญญาณเสียงเดียวกัน) ในการยืนฟัง ณ บางตำแหน่งจะได้ยิน
เสียงดัง แต่บางตำแหน่งจะได้ยินเสียงค่อย นำผลการสังเกตจากการทดลองนี้ไปเปรียบเทียบกับการกระจัดของ
ผิวน้ำในถาดคลื่น เมื่อมีคลื่นจาก แหล่งกำเนิดอาพันธ์ (coherent sources) 2 แหล่ง ก็จะมีบางตำแหน่งที่
การกระจัดเสริมกันและบางตำแหน่งที่การกระจัดหักล้างกัน สรุปได้ว่าตำแหน่งที่ได้ยินเสียงดังเพราะเกิดจาก
การเสริมกันของคลื่นเสียง และตำแหน่งที่ได้ยินเสียงค่อยเกิดจากการหักล้างกันของคลื่นเสียง ดังนั้น เสียง
แสดงสมบัติการแทรกสอดได้ (interference) ซึ่งการแทรกสอดนี้เป็นสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของคลื่นซึ่ง
สามารถแสดงได้ดังรูปที่ 13
รูปที่ 13 ภาพวาดแสดงการแทรกสอดของคลื่นเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงอาพันธ์ 2 แหล่ง และ
จากการทดลองพบว่า เสียงที่ได้ยิน ณ ตำแหน่ง A ดังรูปที่ 14 ซึ่งอยู่ด้านหลังสิ่งกีดขวาง
จะดังน้อยกว่าเสียงที่ได้ยิน ณ ตำแหน่ง B และ C
รูปที่ 14 แสดงตำแหน่งต่าง ๆ ที่เป็นจุดรับฟังเสียงเพื่อศึกษาการเลี้ยวเบนของเสียง