Page 80 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 80

   บทนํา
การแพร่ระบาดของยาเสพติดปัจจุบันอยู่ในสถานการณ์ที่มีการใช้อย่างกว้างขวางและรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ คุณภาพชีวิตของประชากร ผลที่ตามมาคือเกิดการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง รัฐบาลเองได้ให้ ความสําคัญต่อการปราบปราม กวาดล้าง และการบําบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดอย่างต่อเนื่อง โดยใช้กลยุทธ์ ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการแพร่ระบาดยาเสพติดภายในประเทศ รวมทั้งใช้ มาตรการทางกฎหมายอย่างเฉียบขาดกับผู้ที่กระทําผิดในการค้ายาเสพติดและผู้เสพยาเสพติดและมุ่งเน้น การดูแลผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด ด้วยกลไกสาธารณสุขแทนการดําเนินคดีทางอาญา แก้ไขปัญหาตามสภาพ ปัญหาที่แท้จริงของการเสพติด โดยถือว่า “ผู้เสพ ผู้ติด คือ ผู้ป่วย” เน้นการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ พฤติกรรม และสังคม (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, 2564) ควบคู่ไปกับการบําบัดรักษา เพื่อลด ละ เลิกยาเสพติด และการลดอันตรายจากยาเสพติด (Harm Reduction) รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
บทวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน พบว่าพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดที่น่ากังวล คือ การใช้ยาเสพติดของผู้เข้าบําบัดรักษาที่กลุ่มผู้ติดและกลุ่มผู้ติดรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (บุรฉัตร จันทร์แดง, 2560) และมีแนวโน้มของการเกิดพฤติกรรมที่ใช้ความรุนแรง มีการทําร้ายตนเอง ทําร้ายบุคคลใกล้ชิด (พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์ และคณะ, 2560) และจากสถิติผู้ป่วยที่เข้ารับการบําบัดรักษาที่สถาบันบําบัดรักษา และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี ในปี 2565-2566 ที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ป่วยผู้ติดยาและสารเสพติด ที่มีอาการร่วมทางจิตเวชและมีพฤติกรรมการก่อความรุนแรง (SMI-V) เข้ารับการบําบัดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2565 จํานวน 412 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.8 และตั้งแต่ตุลาคม 2566 ถึงมกราคม 2567 มีจํานวน 223 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.87 สอดคล้องกับการศึกษาที่พบว่า ผู้ที่ติดยาและสารเสพติดเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มของ การเกิดพฤติกรรมรุนแรงสูงกว่าผู้ที่ไม่ใช้ยาและสารเสพติด (สุพัตรา สุขาวห และสุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, 2560) และยังพบว่าการเกิดโรคร่วมทางจิตเวชของผู้ใช้ยาและสารเสพติดหรือผู้ป่วยจิตเวชที่มีการใช้สารเสพติด ยังเป็นปัจจัยที่สําคัญที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่รุนแรงได้ (ศศิธร กมลธรรม และรุ่งระวี แก้วดี, 2561; ศิริพรรณ ธนันชัย และจินตนา ยูนิพันธุ์, 2562)
ผู้ติดยาและสารเสพติดที่มีอาการร่วมทางจิตเวชและมีพฤติกรรมการก่อความรุนแรง (SMI-V) ที่เข้ารับ การบําบัดที่สถาบันบําบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี คือกลุ่มที่ใช้ยาและสารเสพติด ที่มีอาการร่วมทางจิตเวชที่รุนแรงและมีประวัติการก่อพฤติกรรมรุนแรงตามเกณฑ์คัดกรอง 4 ด้าน ได้แก่ มีประวัติทําร้ายตัวเองด้วยวิธีรุนแรงมุ่งหวังให้เสียชีวิต มีประวัติทําร้ายผู้อื่นด้วยวิธีรุนแรง/ก่อเหตุรุนแรงทําให้ หวาดกลัว สะเทือนขวัญในชุมชน มีอาการหลงผิด มีความคิดทําร้ายตนเอง/ผู้อื่นให้ถึงแก่ชีวิตหรือมุ่งร้ายผู้อื่น แบบเฉพาะเจาะจง และเคยมีประวัติก่อคดีอาญารุนแรง (ฆ่า พยายามฆ่า ข่มขืน วางเพลิง) (กรมสุขภาพจิต, 2563) เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน นํามาสู่ปัญหาการรักษาสารเสพติดและการรักษาโรคจิตเวช ที่ยุ่งยาก มากข้นึ เกิดการไม่ร่วมมือในการรักษา (Non-compliance) อีกทั้งยังส่งผลให้เพิ่มการใช้บริการทางสุขภาพ
78






























































































   78   79   80   81   82