Page 81 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 81
รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มมากขึ้นด้วย ผู้ติดยาและสารเสพติดที่มีอาการร่วมทางจิตเวชและมีพฤติกรรม
การก่อความรุนแรง (SMI-V) ยังคงมีพฤติกรรมเสี่ยงทั้งต่อการเสพติดซ้ํา และการป่วยด้วยโรคทางจิตที่ต้อง
รับประทานยาต่อเนื่อง หากครอบครัวมีความเข้าใจและดูแลผู้ป่วยไม่ถูกต้อง จะส่งผลให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแล
ที่เหมาะสม เกิดความขัดแย้งในครอบครัว และชุมชน เกิดผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมทําให้ผู้ป่วย
กลับเข้าสู่ปัญหาเดิม กลายเป็นปัญหาเรื้อรัง และมีความยุ่งยากในวางแผนการดูแล กระบวนการดูแลจึงต้องเริ่ม
จากการที่ผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชนต้องมีความรู้ ความเข้าใจในผลกระทบจากการเสพติดที่ทําให้เกิดโรคร่วมทางจิตเวช
การรักษาด้วยการรับประทานยาต้านอาการทางจิตอย่างต่อเนื่อง การปฏิบัติเพื่อสังเกตและเฝ้าระวังสัญญาณ
อันตรายที่อาจนํามาสู่พฤติกรรมการก่อความรุนแรง รวมทั้งการปรับตัวและจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น และ
การประสานความร่วมมือกับครอบครัว/ชุมชน ในการช่วยดูแลต่อเนื่องร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการดูแลผู้ป่วยรายกรณี (Casemanagement)นับเป็นการจัดบริการสุขภาพรูปแบบหนึ่ง
เพื่อพัฒนาการดูแลให้มีคุณภาพ ช่วยให้มีการประสานงานที่ดีระหว่างสหวิชาชีพ โดยมีเป้าหมายให้คุณภาพ การดูแลสูงขึ้น มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม มุ่งผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่กําหนด ภายใต้ความร่วมมือของทีมสุขภาพ ซึ่งเป็นผู้กําหนดแผนการดูแลร่วมกัน โดยใช้แผนการดูแล (Critical pathways) เป็นแนวทางการดําเนินกิจกรรม เป็นแนวคิดที่สําคัญที่ถูกนํามาใช้ และสามารถจัดการกับปัญหาการดูแลกลุ่มผู้ที่ติดยาและสารเสพติดมีอาการ ร่วมทางจิตเวชและมีพฤติกรรมการก่อความรุนแรง (SMI-V) ได้อย่างเป็นระบบ (กรมสุขภาพจิต, 2563) ดังนั้น บทความนี้จึงขอนําเสนอสาระสําคัญเกี่ยวกับบทบาทพยาบาลผู้จัดการรายกรณีในการดูแลผู้ติดยาและสารเสพติดที่ มีอาการร่วมทางจิตเวชและมีพฤติกรรมการก่อความรุนแรง (SMI-V) เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับ การดูแลที่ตอบสนองต่อความต้องการ ให้ผู้ป่วยสามารถอยู่ในชุมชนได้นานขึ้น ไม่กลับมาติดซ้ํา (Relapse) หรือไม่ก่อความรุนแรงซํ้าทั้งต่อตนเองและผู้อื่น และเพื่อให้มีการจัดสรรทรัพยากรทางการแพทย์อย่าง เหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย
วัตถุประสงค์
เพื่อนําเสนอบทบาทพยาบาลผู้จัดการรายกรณีในการดูแลผู้ติดยาและสารเสพติดที่มีอาการร่วมทางจติ เวช และมีพฤติกรรมการก่อความรุนแรง
แนวคิดการจดั การรายกรณี
การจัดการรายกรณี เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการขับเคลื่อนการจัดการกับปัญหาโรคเรื้อรังที่ได้รับ การยอมรับจากทั่วโลก เป็นกระบวนการประสานงาน การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานบริการ และชุมชนมีการวางแผนการออกแบบการดูแลให้แก่ผู้ป่วยเฉพาะรายแบบองค์รวมในทุกระยะของการเจ็บป่วย เพื่อตอบสนองความต้องการที่ซับซ้อนด้านสุขภาพของผู้ป่วยและครอบครัว มีการพิทักษ์สิทธิ มีการเจรจา ต่อรองของผู้ป่วย มีการจัดการเพื่อลดความผันแปรในกระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วย มีการประสานให้เข้าถึง แหล่งทรัพยากรเพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์เชิงคุณภาพทั้งด้านคลินิก ด้านค่าใช้จ่าย ด้านรายได้และด้านมูลค่าเพิ่ม และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการส่งเสริมสุขภาวะและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย (ศิริอร สินธุ, 2555) จากการ ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการจัดการรายกรณี พบว่า มีการให้ความหมายที่เหมือนและแตกต่างกัน ผู้เขียนจึง
79