Page 82 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 82
ขอสรุปของการจัดการรายกรณีว่า เป็นกระบวนการดูแลที่มุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางเพื่อตอบสนองความ ต้องการด้านสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละรายอย่างครอบคลุมและต่อเนื่อง โดยมีการประสานงานความร่วมมือของ ทีมสหสาขา ในการประเมินปัจจัยต่างๆ ทั้งด้านภาวะสุขภาพ และค่าใช้จ่ายที่สัมพันธ์กับความเจ็บป่วยและ นํามาวางแผนการดูแลร่วมกัน โดยมีพยาบาลเป็นผู้จัดการ (Case manager) ทําหน้าที่ในการติดต่อสื่อสาร ประสานงาน ติดตามผลทั้งด้านภาวะสุขภาพและค่าใช้จ่าย พิทักษ์สิทธิของผู้ป่วย เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้ป่วยแต่ละรายด้วยการสื่อสารและการจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสมในเวลาที่กําหนด โดยใช้แผนการ ดูแลผู้ป่วย (Critical pathways) เป็นเครื่องมือในการกํากับการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลรักษา นําไปสู่ผลลัพธ์ที่ มีคุณภาพและคุ้มค่า การดูแลในรูปแบบการจัดการรายกรณี จะมีลักษณะการจัดระบบการดูแลผู้ป่วย เพื่อสนองความต้องการเป็นสําคัญ โดยที่พยาบาลแต่ละคนมีหน้าที่ประสานกิจกรรมการดูแลผู้ป่วย ลักษณะเด่น ของระบบการพยาบาลในแบบนี้คือ มีการกําหนดเวลาที่จะให้ผู้ป่วยเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น (Time frame) ผู้รับผิดชอบระบบให้การดูแลเป็นผู้จัดการดูแลผู้ป่วย (Case manager) และมีการปฏิบัติ การร่วมกันเป็นกลุ่มทั้งในระดับหน่วยหรือระดับแผนกและที่สําคัญคอื ผู้ป่วยและครอบครัวจะมีส่วนรับผิดชอบ ในการกําหนดเป้าหมายและประเมินผลด้วยกัน ผู้จัดการรายกรณี จะสวมบทบาทผู้แทนผู้ป่วย ผู้แก้ปัญหา ผู้ตัดสินใจ และอื่นๆ ที่จะพิทักษ์สิทธิความปลอดภัย และผลประโยชน์ที่ผู้ป่วยพึงได้รับ เน้นการดูแลให้มี มาตรฐานคุณภาพ ให้การนิเทศการดูแลที่พยาบาลรับผิดชอบปฏิบัติ ติดตามความก้าวหน้าของผู้ป่วยทั้งหมด ในความรับผิดชอบ วางแผน ประสานงานและประเมินผลงาน
จากการทบทวนข้อมูลผู้ป่วยยาและสารเสพติดที่มีพฤติกรรมการก่อความรุนแรง มักมีประวัติการใช้ยา และสารเสพติดจนทําให้เกิดอาการร่วมทางจิตเวช หรือเป็นกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชที่มีการใช้สารเสพติดร่วมด้วยจน เกิดอาการทางจิตที่รุนแรง และหากขาดยาหรือรับการรักษาไม่ต่อเนื่อง จะทําให้เกิดอาการหลงผิด หวาดระแวง หรือก่อพฤติกรรมรุนแรงทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น และชุมชน รวมทั้งทําลายทรัพย์สิน ดังนั้น การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมี ความยุ่งยากซับซ้อน มีความจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีรูปแบบในการดูแลผู้ป่วยที่เข้มข้น มีความครอบคลุม ต่อเนื่อง และตอบสนองตามความต้องการที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน เพื่อให้มีคุณภาพ ชีวิตดีขึ้น การจัดการรายกรณี (Case management) สามารถนํามาใช้ดูแลผู้ติดยาและสารเสพติดที่มีอาการ ร่วมทางจิตเวชและมีพฤติกรรมการก่อความรุนแรง มีความต้องการการดูแลและแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อน จากทีมสหวิชาชีพ โดยมีการจัดทําแผนการดูแลผู้ป่วย มีการกําหนดเป้าหมายกิจกรรมการดูแลผู้ป่วย ผลลัพธ์ที่ คาดหวังเน้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างสหวิชาชีพและมีผู้จัดการรายกรณี (Case manager) ซึ่งเป็นผู้ดูแล ติดต่อประสานงานทั้งในโรงพยาบาลและขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในชุมชน เพื่อให้เกิดการดูแลผู้ป่วยครอบคลุม และต่อเนื่อง การดูแลผู้ป่วยโดยใช้แนวคิดการจัดการรายกรณี (Case management) สามารถใช้การจัดการ รายกรณีที่แผนกผู้ป่วยใน จนกระทั่งมีความพร้อมสามารถใช้การจัดการรายกรณีในชุมชนซึ่งต้องอาศัย ความร่วมมือและความพร้อมจากหลายภาคส่วนและเครือข่ายในพื้นที่ (กรมสุขภาพจิต, 2563)
80