Page 84 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 84
ตัวอย่าง บทบาทพยาบาลผู้จัดการรายกรณีในการดูแลผู้ติดยาและสารเสพติดที่มีอาการร่วมทาง จิตเวชและมีพฤติกรรมการก่อความรุนแรง (SMI-V)
การดูแลผู้ป่วยยาเสพติดมีอาการร่วมทางจิตเวชและมีพฤติกรรมการก่อความรุนแรงกลุ่มนี้ เป็น การดูแลที่มีความซับซ้อนกว่าการดูแลผู้ที่มีปัญหาติดสารเสพติดหรือมีความผิดปกติทางจิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงอย่างเดียว (นิตยา ตากวิระยะนันท์, 2558) พยาบาลผู้จัดการรายกรณีควรกําหนดเป้าหมายของ การพยาบาล คือ การช่วยเหลือให้ผู้ป่วยสามารถหยุดใช้สารเสพติดและลดอาการทางจิตเวชลง รวมทั้งการช่วย ให้ผู้ป่วย/ครอบครัว ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโรคร่วม และความเสี่ยงด้านพฤติกรรมรุนแรงที่ ผู้ป่วยเป็นอยู่ ตลอดจนมีความเข้าใจในความสัมพันธ์ของการเกิดโรคร่วมให้มากพอที่จะตระหนักถึงความจําเป็นในการ รักษาความผิดปกติของโรคร่วมทั้งสองอย่างต่อเนื่อง ต้องมีการวางแผนการดูแลอย่างต่อเนื่องและจัดการอย่าง เป็นระบบร่วมกับสหสาขา เนื่องจากปัญหาการติดยาเสพติดร่วมกับมีภาวะร่วมทางจิตที่รุนแรง ถือว่าเป็นภาวะ ยุ่งยากซับซ้อน เป็นโรคเรื้อรัง และมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก นอกจากนี้การก่อพฤติกรรมที่รุนแรง ของผู้ป่วย ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน ทําให้ครอบครัว ชุมชน มีความหวาดกลัวผู้ป่วย และอาจมีทัศนะคติ ที่ไม่ดี ไม่อยากให้ผู้ป่วยอยู่ร่วมในชุมชนหรือสังคมเดียวกัน (กีรตยา อุ่นเจริญ, 2560) การจัดการเพื่อสร้าง ความเข้าใจและส่งเสริมให้ครอบครัว ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสามารถ ติดตาม เฝ้าระวังความรุนแรงที่อาจขึ้น จึงเป็นความจําเป็นที่พยาบาลผู้จัดการรายกรณีต้องวางแผนก่อนที่ ผู้ป่วยจะกลับบ้าน กระบวนการการดูแลผู้ป่วยต้องมีการกําหนดแผนการดูแลร่วมกันระหว่างทีมสหวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาลผู้จัดการรายกรณี พยาบาลประจําหอผู้ป่วย นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ญาติ ครอบครัว และชุมชน อย่างเป็นระบบ เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง เกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว ซึ่งเป็นพยาบาลผู้จัดการรายกรณีที่ จะดูแลผู้ติดยาและสารเสพติดที่มีอาการร่วมทางจิตเวชและมีพฤติกรรมการก่อความรุนแรง (SMI-V) จึงควร เป็นพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องโรค เป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเชิงระบบ เช่น พยาบาลที่ผ่าน การอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ติดยาและสารเสพติด รูปแบบการดูแลมี กระบวนการทํางานคล้ายคลึงกับกระบวนการพยาบาล นําไปสู่การกําหนดบทบาทหน้าที่ของผู้จัดการดูแล ผู้ป่วยดังต่อไปนี้
1) การค้นหาและคัดกรองผู้ป่วย
ขั้นตอนแรกของกระบวนการ คือการค้นหาหรือคัดกรองผู้ป่วยที่เหมาะสมต่อการใช้บริการ รูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยทุกรายไม่จําเป็นต้องเป็นการดูแลในระบบการจัดการรายกรณี (Case manager) ในการคัดเลือกผู้ป่วยเพื่อเข้าสู่การดูแล ระบบการจัดการรายกรณีสําหรับกลุ่มผู้ป่วยยาและ สารเสพติด ยกตัวอย่างเช่น เป็นผู้ป่วยเสพสารเสพติดกลุ่มเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในด้วยอาการที่รุนแรง/ พฤติกรรม ความคิดทําร้ายตนเอง/ทําร้ายผู้อื่น (กลุ่มสีแดง) และมีอาการร่วมทางจิตเวชที่มีความผิดปกติทาง ความคิดอารมณ์หรือพฤตกิรรมส่งผลต่อความเสี่ยงต่อพฤติกรรมรุนแรงหรือทําให้เกิดความทุพพลภาพรุนแรง มีผลรบกวนต่อการใช้ชีวิตปกติ จําเป็นต้องได้รับการเฝ้าระวังและดูแลเพื่อป้องกันการกําเริบซํ้า มากกว่าผู้ป่วย
82