Page 86 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 86

   แผนการพยาบาลในระยะที่อยู่ในโรงพยาบาลจะกําหนดปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหา ตามที่วางแผนไว้ดังนี้
- ระยะเฉียบพลันรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการหลงผิด อาการก้าวร้าว ประสาทหลอน หวาดระแวงกลัวคนจะทําร้าย หูแว่ว อารมณ์แสดงออกไม่เหมาะสม อาจมีการทําร้ายตนเองหรือบุคคลอื่นได้ บางรายอาจมีอาการตึงเครียด วิตกกังวล ตื่นตระหนกเฉียบพลัน พูดมาก พูดเพ้อเจ้อ หงุดหงิดง่าย ไวต่อสิ่งกระตุ้น กระสับกระส่าย มีภาวะกายใจไม่สงบ มุ่งร้าย สับสน ประสาทหลอน หรือมีอาการโรคจิต เพ้อ บางรายมีหูแว่วร่วมด้วย นอกจากนี้มักพบว่าพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง อาจมีการทําร้ายตนเองหรือ บุคคลอื่นได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอาการด้าน Positive symptom อารมณ์ การรับรู้/พฤติกรรมผิดปกติ ผู้ป่วย ได้รับยาในกลุ่มความเสี่ยงสูง (High alert drugs ) เช่น Haloperidol หรือ Diazepam (valium) เพื่อลด อาการทางจิตที่รุนแรงและให้ผู้ป่วยสงบร่วมกับการจํากัดพฤติกรรมโดยการผูกยึด นอกจากนี้ยังอาจเกิดอาการ ที่เกิดจากการได้รับยาหรือสารเสพติดเกินขนาด หรือจากภาวะถอนพิษหรือหยุดใช้ยาและสารเสพติดที่รุนแรงได้ (พรรนอ กลิ่นกุหลาบ และคณะ, 2563) การวางแผนพยาบาลระยะนี้ คือการลดความรุนแรงของอาการทางจิตที่เกิดขึ้น ร่วมกับการป้องกันความรุนแรงของอาการทางจิตเวช อาการเมา และอาการขาดสารเสพติด และการป้องกัน อันตรายจากการได้รับยาที่ใช้ในการบําบัด ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัย และไม่เกิดความเสี่ยง หากต้องได้รับ การจํากัดพฤติกรรมโดยการผูกมัด โดยเป้าหมายที่สําคัญในระยะนี้ ได้แก่ ผู้ป่วยปลอดภัยจากอาการทางจิต และความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงต่อตัวผู้ป่วยเองและผู้อื่น ผู้ป่วยปลอดภัยจากอาการรุนแรงจากยาเสพติด (ภาวะ Intoxication และ Withdrawal symptom ในระยะรุนแรง) ผู้ป่วยปลอดภัยจากการได้รับยาทางจิตเวช กลุ่ม High alert drugs ที่ใช้บําบัดในระยะรุนแรงเฉียบพลัน/เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับยาที่ใช้ใน การรักษา ผู้ป่วยปลอดภัยจากการผูกมัดหากไม่สามารถจัดการอาการ อารมณ์ และพฤติกรรมรุนแรงได้ เมื่อจําเป็นต้องได้รับการจํากัดพฤติกรรมการผูกมัด และผู้ป่วยสามารถทํากิจวัตรประจําวัน และ การสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้
- ระยะอาการเฉียบพลัน-ต่อเนื่อง เป็นระยะที่อาการทางจิตเริ่มสงบ รวมทั้งอาการที่เกิดจาก การใช้ยาและสารเสพติดเกินขนาดหรือจากภาวะถอนยาหรือหยุดใช้สารเสพติดจะลดลง ผู้ป่วยจะเริ่มสามารถ ควบคุมอาการทางจิต ความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมตนเองได้ (พรรนอ กลิ่นกุหลาบ และคณะ, 2563) การวางแผน การพยาบาลระยะนี้เป็นระยะที่มีความสําคัญแต่มีความเร่งด่วนรองลงมา และต้องการไดร้ ับการดูแลต่อเนื่อง จากปัญหาที่อาจเกิดขึ้น สามารถควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมตนเองได้ ได้แก่ การดูแลให้ผู้ป่วยปลอดภัยและ ลดอาการทุกข์ทรมานจากภาวะขาดยา (Withdrawal symptom) ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ การมีสุขภาพ อนามัยที่ดีของร่างกาย และช่องปาก การได้รับสารอาหารที่เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย ผู้ป่วยไม่เกิด อันตรายจากอาการข้างเคียงของยาทางจิตเวช ได้แก่ อาการ EPS และอาการข้างเคียงอื่นๆ ของยาทางจิตเวช และผู้ป่วยเกิดแรงจูงใจในการเลิกยาเสพติด เข้ารับการบําบัดฟื้นฟูจนครบขั้นตอนการบําบัด และสามารถดูแล ตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
- ระยะดูแลต่อเนื่องและการดูแลในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ เมื่อผู้ป่วยผ่านพ้นระยะเฉียบพลัน และระยะที่มีอาการขาดยาได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งอาการทางจิตสงบแล้ว ผู้ป่วยจะควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น
84






























































































   84   85   86   87   88