Page 88 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 88
ตามที่ระบุใน Clinical pathways จะประสานทีมสหวิชาชีพในการประชุมเพื่อจัดการกับปัญหาความ แปรปรวนร่วมกัน ส่งผลให้ทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนได้มีโอกาสในการรับข้อมูล ความรู้และการถ่ายทอด ประสบการณ์ร่วมกันในการที่ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาของผู้ป่วย
เมื่อผู้ป่วยจําหน่ายกลับบ้านและอยู่ในระยะที่อยู่ในชุมชน พยาบาลผู้จัดการรายกรณีจะประสาน ความร่วมมือกับหน่วยงานติดตามการรักษาและประสานความร่วมมือกับครอบครัว และชุมชน ในการดูแล ต่อเนื่องทั้งการควบคุม กํากับพฤติกรรมการเสพติดซ้ํา การรับประทานยา การมาติดตามการรักษา การเฝ้าระวังเหตุ ที่อาจทําให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมก่อความรุนแรงซ้ํา รวมทั้งการประสานแหล่งหรือหน่วยงานที่พร้อมให้ การช่วยเหลือ เมื่อผู้ป่วยอาจมีพฤติกรรมการก่อความรุนแรงซ้ําได้ ทั้งนี้หากการดําเนินการดูแลเป็นไปตามแผน ที่กําหนดไว้แล้ว พยาบาลผู้จัดการรายกรณีสามารถยุติบทบาท และส่งมอบเคสให้หน่วยงานที่ติดตามการรักษา ดูแลต่อไปได้
สรุป
การดูแลตามแนวทางการจัดการรายกรณี (Case Management) ในผู้ติดยาและสารเสพติดที่มีอาการ ร่วมทางจิตเวช และมีพฤติกรรมการก่อความรุนแรง (SMI-V) บทบาทที่สําคัญของพยาบาลผู้จัดการรายกรณี คือ ต้องมีการดําเนินการตามขั้นตอนและจัดทําแผนการจัดการดูแลผูป้ ่วย (Clinical pathways) ไว้ ทั้งนี้อาจ กําหนดตามลักษณะอาการของผู้ป่วย ได้แก่ ระยะเฉียบพลันรุนแรง ระยะอาการเฉียบพลัน-ต่อเนื่อง และระยะ ดูแลต่อเนื่อง และกําหนดเป้าหมายหรือผลลัพธ์ของการดูแลไว้ตามระยะเวลาที่กําหนด ภายใต้ความร่วมมือของ ทีมสหสาขา มีผลการดูแลตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ และได้นําครอบครัว ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมใน การวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขปัญหา บทบาทที่สําคัญอีกประเด็นหนึ่งของผู้จัดการรายกรณีสําหรับ กลุ่มผู้ป่วยกลุ่มนี้คือ ต้องพยายามเชื่อมโยงให้เห็นความสําคัญของการดูแลผู้ป่วยที่มีโรคร่วมทางจิตเวชจากการ เสพติดและการดูแลต่อเนื่องทั้งการรับประทานยารักษาทางจิตเวช การสร้างทักษะที่เหมาะสมเพื่อเป็นปัจจัย ปกป้องที่สําคัญในการป้องกันการเสพติดซ้ํา การสังเกตสัญญาณเตือนที่อาจนํามาสู่การก่อพฤติกรรมรุนแรง และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการร่วมดูแล ป้องกัน และการช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินแก่ผู้ป่วย และครอบครัว โดยมีเป้าหมายที่สําคัญคือ การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย การไม่กลับไปเสพติดซ้ําและ ไม่ก่อความรุนแรงซ้ํา สามารถใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัว ชุมชนได้อย่างมีคุณภาพ
ข้อเสนอแนะ
1. การดูแลผู้ป่วยภายใต้แนวคิดการจัดการรายกรณีในผู้ติดยาและสารเสพติดที่มีอาการร่วมทางจิตเวช และมีพฤติกรรมการก่อความรุนแรง (SMI-V) พยาบาลผู้จัดการรายกรณี ต้องมีบทบาทที่สําคัญในการสร้าง กระบวนการทํางานร่วมกับทีมสหวิชาชีพอย่างเป็นระบบ โดยการประเมิน วางแผน ลงมือปฏิบัติ โดยตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว ส่งเสริมคุณภาพของการให้บริการต่อผู้ป่วยและครอบครัว ในชุมชนอย่างมีประสิทธิผล และจะต้องเป็นโปรแกรมระยะยาว ต้องอาศัยกระบวนการที่ใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อ ช่วยป้องกันการเจ็บป่วยซ้ํา การบูรณาการการบําบัดอย่างครอบคลุมจะช่วยให้ผู้ป่วย ลดการใช้สารเสพติด และคงสภาพอาการทางจิต ไม่ให้อาการแย่ลง สังเกตสัญญาณเตือนที่อาจนํามาสู่การก่อพฤติกรรมรุนแรงได้
86