Page 85 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 85
ที่วินิจฉัยด้วยโรคเดียวกัน ทั้งนี้ลักษณะพฤติกรรมความรุนแรงอาจต้องเข้าเกณฑ์กลุ่มผู้ป่วยที่มีพฤติกรรม การก่อความรุนแรง (SMI-V) ได้แก่ ผู้ป่วยมีประวัติทําร้ายตัวเองด้วยวิธีรุนแรงมุ่งหวังให้เสียชีวิต มีประวัติ ทําร้ายผู้อื่นด้วยวิธีรุนแรง/ก่อเหตุรุนแรง ทําให้หวาดกลัว สะเทือนขวัญในชุมชน มีอาการหลงผิด มีความคิด ทําร้ายตนเอง/ผู้อื่นให้ถึงแก่ชีวิต หรือมุ่งร้ายผู้อื่นแบบเฉพาะเจาะจง เช่น ระบุชื่อบุคคลที่จะมุ่งทําร้าย และ เคยมีประวัติก่อคดีอาญารุนแรง (ฆ่า พยายามฆ่า ข่มขืน วางเพลิง) ข้อใดข้อหนึ่งให้ถือว่าเป็นผู้ป่วยยาเสพติดที่ มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (กรมสุขภาพจิต, 2563) นอกจากนี้อาจมีองค์ประกอบด้านปัญหาอื่นๆ เช่น ปัญหาครอบครัวและชุมชน
2) การประเมินผู้ป่วย
ในการประเมินผู้ป่วย จะประเมินผู้ป่วยและครอบครัวโดยองค์รวมครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณ และสภาพแวดล้อม แหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคม ซึ่งเป็นการประเมินทั้งส่วนที่ดี คือ ความสามารถ ศักยภาพของผู้ป่วยและแหล่งสนับสนุน และส่วนที่เป็นปัญหาและความต้องการในด้านต่างๆ ของผู้ป่วยและครอบครัว ข้อมูลที่รวบรวมได้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการกําหนดวินิจฉัยปัญหาความต้องการ การช่วยเหลือของผู้ป่วยและครอบครัว ผู้ที่เกี่ยวข้องในการให้ข้อมูลอาจเป็นพยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ผู้ป่วยและบุคลากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจากประวัติเวชระเบียน การซักประวัติผู้ป่วยและ ครอบครัว หลังจากนั้นดําเนินการนัดหมายสหสาขา ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยาและนักสังคม สงเคราะห์รวมทั้งครอบครัว เข้ามาร่วมประเมินปัญหา ซึ่งผลจากการประเมินปัญหาจากทีมสามารถรวบรวม และนํามากําหนดวินิจฉัยปัญหาความต้องการ การช่วยเหลือของผู้ป่วยและครอบครัว
3) การระบุปัญหา
เป็นขั้นตอนที่สําคัญขั้นตอนหนึ่ง อันจะนําไปสู่คุณภาพของการดูแลผู้ป่วย ทีมการดูแลผู้ป่วย แบบสหวิชาชีพจะร่วมมือกันพิจารณาข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวใน การดําเนินการระบุปัญหาของผู้ป่วย ทีมผู้ดูแลผู้ป่วยภายใต้การนําของพยาบาลผู้จัดการรายกรณี จะต้องจัด ประชุมทีม เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา และร่วมกันระบุปัญหาอย่างครอบคลุม เช่น ในระยะเฉียบพลัน รุนแรงคือระยะแรกรับถึงสัปดาห์ที่ 2 ซึ่งเป็นระยะวิกฤติจากอาการทางจิตเวชจากการใช้ยาและสารเสพติด ส่วนระยะอาการเฉียบพลัน-ต่อเนื่องจะอยู่ในช่วงในสัปดาห์ที่ 3 ถึง 6 ซึ่งเป็นการดูแลในอาการทางจิตเริ่มสงบ และระยะฟื้นฟูสมรรถภาพซึ่งเป็นระยะดูแลต่อเนื่องที่เริ่มมีการนําครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการบําบัดรักษา ร่วมกับทีมสหสาขา ซึ่งเป็นระยะที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพิ่มทักษะและความเข้มแข็งด้านจิตใจ
4) การวางแผนให้การดูแล/การพยาบาล
ในระยะนี้จะแบ่งขั้นตอนการดําเนินงาน เป็น 2 ระยะคือ ระยะที่อยู่ในโรงพยาบาล และระยะ ที่อยู่ในชุมชน โดยจะเชื่อมโยงระหว่างความต้องการของผู้ป่วยและแหล่งบริการช่วยเหลือทางสุขภาพและอื่นๆ โดยมีทีมสหวิชาชีพร่วมกันกําหนดแผนการดูแล อาจเรียกว่า แผนการดูแลผู้ป่วย (Clinical pathways) สิ่งที่กําหนดไว้ในแผนการดูแล คือ ปัญหาและความต้องการช่วยเหลือของผู้ป่วยแต่ละครอบครัว กิจกรรมต่างๆ ที่จะแก้ปัญหาหรือตอบสนองต่อความต้องการนั้น ผู้รับผิดชอบต่อกิจกรรมที่กําหนดขึ้น ความคาดหวังที่เกิดขึ้น เวลาในการปฏิบัติตามกิจกรรมที่กําหนด
83