Page 22 - Local fund Ubon
P. 22

16


                                                    ตัวอย่างโครงการ 2

               แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนต าบล.......................
               เรื่อง   โครงการนม 90 วัน 90 กล่องส าหรับหญิงหลังคลอด ต าบล  ……………………………………………

               เรียน   ประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนต าบล .........................................

                            ด้วย  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบล................................อ าเภอ.......................... มีความ
               ประสงค์จัดท าโครงการ นม 90 วัน 90 กล่อง ส าหรับหญิงหลังคลอด ปี………….. โดยขอรับการสนับสนุน

               งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนต าบล................................................... จ านวน
               ..................บาท (............................................................) โดยมีรายละเอียดโครงการดังนี้


               ส่วนที่ 1 รายละเอียดโครงการแบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (ส าหรับผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/

               กิจกรรม)


               หลักการและเหตุผล

                         ใน 1,000วันแรกของชีวิต นับตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงสองขวบปีแรก เป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการ

               พัฒนาสูงสุด ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับสารอาหาร ที่ครบถ้วนในช่วงดังกล่าว
               โดยช่วง 270 วัน อยู่ในท้องแม่ แม่ควรกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ เช่น ปลา ตับ ไข่ ผัก ผลไม้ และนมสดรสจืด

               ช่วง 180 วัน (แรกเกิดถึง 6 เดือน) เป็นช่วงที่ลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนเต็ม เพราะนมแม่เป็น
               อาหารที่ดีที่สุดส าหรับลูก จากนั้น 550 วัน (หลัง 6 เดือนถึง 2 ปี) ให้ลูกกินนมแม่ควบคู่อาหารตามวัย เพื่อเป็น

               การเตรียมสมอง ร่วมกับการพัฒนาทักษะของเด็กโดยกระบวนการกระตุ้นผ่านกิจวัตรประจ าวัน ในรูปแบบ กิน
               กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน ที่เหมาะสมจากผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งเป็นส่วนส าคัญในการสร้างเด็กไทย ให้มี

               คุณภาพ

                         ดังนั้น การส่งเสริมสุขภาพสตรีหลังคลอดและเด็กปฐมวัย จึงเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพ
               ประชากรตั้งแต่แรกเกิด – 2 ปี มีสุขภาพแข็งแรง เป็นข้อบ่งชี้ที่ส าคัญของการเจริญเติบโต และการมีชีวิตรอด

               ของทารก ทารกที่มีน้ าหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม มีอัตราการอยู่รอดต่ า มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กล่าช้า

               ระบบภูมิคุ้มกันต่ ามีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดปัญหาท้องเสีย หรือปอดบวม ในปัจจุบันมีหลักฐานที่แสดงว่า เด็ก
               ที่โตขึ้นมาจากทารกแรกเกิดน้ าหนักน้อย มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาโรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ เช่น ความดันโลหิต

               สูง เบาหวาน Coronary heart disease และ stroke รวมทั้งค่าใช้จ่ายเพื่อใช้ในการดูแลทารกแรกเกิดน้ าหนัก
               น้อย ในระยะวิกฤตมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนสูง สาเหตุส าคัญของทารกแรกเกิดน้ าหนักน้อยกว่า 2.5 กิโลกรัม

               (2,500 กรัม) คือ การคลอดก่อนก าหนด (คลอดก่อนก าหนด pre-term หมายถึงการคลอดเมื่ออายุครรภ์ ต่ า
               กว่า 37 สัปดาห์) ประมาณ 75% ของการเสียชีวิตของทารกแรกเกิด เกิดในกลุ่มทารกน้ าหนักน้อย หรือถ้ารอด

               ตายในช่วงต้นของชีวิต ก็อาจมีปัญหา ในด้านการเจริญเติบโต หรือพัฒนาการตามมา เช่น ปัญหาในด้านการ

               เรียน การมองเห็น โรคทางเดินหายใจ โรคทางเดินอาหาร หรือการเป็นเด็กปัญญาอ่อน



               ส านักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี

                                                         คู่มือการปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 2563
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27