Page 12 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26
P. 12

1








                                                      1. มหานครปลอดภัย

                                                      บทสรุปสำหรับผู้บริหาร


                       ความสำคัญและที่มาของปัญหา

                              ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) ประเทศไทยได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า “ประเทศ
                       ไทยมีความ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

                       พอเพียง” เพื่อ สนองตอบต่อผลประโยชน์แห่งชาติอนได้แก่ การมีเอกราช อธิปไตย การดํารงอยู่อย่าง
                                                                 ั
                       มั่นคง และยั่งยืนของ สถาบันหลักของชาติ และประชาชน จากภัยคุกคามทุกรูปแบบ การอยู่ร่วมกัน

                       ในชาติอย่างสันติสุข เป็นปึกแผ่น มีความมั่นคงทางสังคม ท่ามกลางพหุสังคม และการมีเกียรติและ
                       ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ความเจริญเติบโต ของชาติความเป็นธรรม และความอยู่ดีมีสุขของ

                       ประชาชน ความยั่งยืนของฐานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางพลังงาน และอาหาร
                       ความสามารถในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ภายใต้การเปลี่ยนแปลง ของสภาวะแวดล้อมระหว่าง

                       ประเทศ และการอยู่ร่วมกัน อย่างสันติประสานสอดคล้องกันด้านความมั่นคงใน ประชาคมอาเซียน
                       และประชาคมโลกอย่างมีเกียรติ และศักดิ์ศรี

                              ประกอบกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ ๒๐ ปี ระยะที่ ๒ ( พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๖๕ )

                       กรุงเทพมหานครได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการก้าวเข้าสู่การเป็น “มหานครแห่งเอเชีย” ในปี พ.ศ.๒๕๗๕
                       ประกอบด้วยประเด็นยุทธศาสตร์ ๖ มิติ ซึ่งมหานครปลอดภัยเป็น ๑ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ
                       โดยมี เป้าหมายให้กรุงเทพมหานครเป็นมหานครที่ปลอดมลพิษ ปลอดอาชญากรรมและยาเสพติด

                       ปลอดอุบัติเหตุ ปลอดภัยพิบัติ สิ่งก่อสร้างปลอดภัย ปลอดโรคคนเมืองและอาหารปลอดภัย
                              นอกจากนี้ สถาบันอนาคตไทยศึกษาได้เคยรายงานผลวิจัยเรื่อง ๑๐ ข้อเท็จจริงชีวิตคน

                       กรุงเทพ ระบุว่า “กรุงเทพมหานคร” แม้จะได้รับการโหวตจากบรรดานักท่องเที่ยวให้เป็น “เมืองน่า
                       เที่ยว” ถึง 4 ปีซ้อน แต่เมื่อ The Economist Intelligence Unit (EIU) จัดอันดับ “เมืองน่าอยู่”

                       กลับได้อันดับ ๑๐๒ จาก ๑๔๐ ประเทศ พบว่า กรุงเทพมหานครมีปัญหาด้าน “ความปลอดภัย”

                              ทั้งนี้จากสถิติกรุงเทพมหานครประจำปี ๒๕๕๗ จัดทำโดยกองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ
                       สำนัก ยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร ระบุว่า ในปี ๒๕๕๗ กรุงเทพมหานครมีจำนวน

                       อาชญากรรม ๒๐,๙๑๓ คดี แบ่งเป็นคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ ๙,๙๔๖ คดี, คดีอาญาที่น่าสนใจ
                       ๖,๘๗๕ คดี, คดีที่เกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย ๓,๕๑๕ คดี และคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ ๕๗๗ คดี

                       โดยรวมลดลงจากปี ๒๕๕๒ ที่มีจำนวน อาชญากรรม ๓๕,๙๐๘ คดี แบ่งเป็นคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์
                       ๑๖,๙๕๗ คดี คดีอาญาที่น่าสนใจ ๑๒,๙๙๔ คดี คดีที่เกี่ยวกับชีวิตร่างกาย ๕,๒๐๔ คดี และคดี
                       อุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ ๗๕๓ คดี และจากข้อมูลการสำรวจ สถิติอาชญากรรมภาคประชาชน

                       (Victimization survey) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยสำนักกิจการยุติธรรม พบว่าคน ไทย ๑๐๐ คน ตกเป็น
                       เหยื่ออาชญากรรมทั้งหมด ๗ คน
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17