Page 13 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26
P. 13
2
ในขณะเดียวกันสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ โควิด ๑๙ ยังส่งผลให้เศรษฐกิจ
ทั่วโลก หยุดชะงัก ภาคเอกชนปิดกิจการมากขึ้น การว่างงานเพิ่มขึ้น ประชาชนประสบความ
ยากลำบากในการดำเนิน ชีวิต โดยเฉพาะการใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ที่มีประชากรอาศัยอย่างหนาแน่น สิ่ง
ต่างๆเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลให้อาจ เกิดเหตุอาชญากรรมเพิ่มขึ้น
เขตบางแค เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ ๔๖.๕๕ ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ฝั่ง
ธนบุรี มีสภาพพื้นที่เป็นกึ่งชุมชนเมืองและชนบท พื้นที่มีความเจริญทางด้านอุตสาหกรรม ประกอบกับ
ใน ปัจจุบันการขยายตัวของพื้นที่ได้เติบโตเพิ่มขึ้นมาก มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน มีการซื้อ
ขายที่ดินที่เป็น เกษตรกรรมมาเป็นภาคอุตสาหกรรมเนื่องจากรายได้ทางการเกษตรต่ำมากไม่เป็น
แรงจูงใจให้ทำการเพาะปลูกจึงเกิดสภาพที่ดินรกร้าง ว่างเปล่าเป็นจำนวนมาก มีการก่อสร้างบ้าน
จัดสรรคอนโดมิเนียม และเป็นพื้นที่ศูนย์ รวมการขนส่งสินค้า มีประชากรจำนวน ๑๙๓,๓๔๒ คน และ
จำนวนทะเบียนบ้าน มีจำนวน ๙๓,๕๔๘ หลังคาเรือน (ข้อมูลจากสถิติทางสำมะโนทะเบียนราษฎร์ ณ
วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓) จำนวนคนงานต่างด้าวสัญชาติ เมียนมา ลาว และกัมพูชา รวมจำนวน
๑๐,๐๖๕ คน (ข้อมูลจากสำนักทะเบียนท้องถิ่นเขตบางแค ณ วันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๖๓) ปัจจุบันเขต
บางแคเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร
แม้ว่าเขตบางแคได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า“ส่งเสริมสุขภาพดี ทุกชีวีปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
พร้อมเต็ม ใจบริการ ประสานการมีส่วนร่วม” สอดคล้องกับนโยบายกรุงเทพมหานคร ด้านที่๑
มหานครปลอดภัย ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อลดความล่อแหลมของสภาพแวดล้อมต่อการเกิดอาชญากรรม
สร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน ประกอบกับมีการสำรวจพื้นที่เขตบางแค พบว่ามีพื้นที่เสี่ยง
จำนวน ๑๙ แห่ง ซึ่งสำนักงานเขตบาง แค ได้มีการดำเนินโครงการเสริมสร้างความปลอดภัยเพื่อลด
ความล่อแหลมของสภาพแวดล้อมต่อการเกิด อาชญากรรมในพื้นที่เขตบางแค โดยมีหน่วยงานที่
รับผิดชอบด้านความปลอดภัยของสำนักงานเขต ได้แก่ ฝ่าย เทศกิจ และได้รับความร่วมมือการ
ดำเนินการดังกล่าวจากสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ จำนวน ๔ แห่ง ได้แก่ สถานีตำรวจนครบาลเพชร
เกษม สถานีตำรวจนครบาลหลักสอง สถานีตำรวจนครบาลศาลาแดง และสถานี ตำรวจนครบาล
บางเสาธง
ทั้งนี้ จากสถิติการก่อเหตุอาชญากรรมในพื้นที่เขตบางแค พบว่ามีคดีก่อเหตุด้านอาชญากรรม
๔ ประเภท ประเภทประทุษร้ายต่อร่างกาย และทรัพย์สิน ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๒ ถึง วันที่
๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ พบว่ามีคดีด้านอาชญากรรมและยาเสพติด จำนวน ๕๐๖ คดี แต่จากการ
รายงานสถิติการ ก่อเหตุในพื้นที่เสี่ยง ๑๙ จุดของฝ่ายเทศกิจ ไม่พบว่ามีการก่อเหตุอาชญากรรมในจุด
เสี่ยงดังกล่าว ในทาง กลับกันจากรายงานสถิติการเกิดเหตุอาชญากรรมของสถานีตำรวจนครบาล
ท้องที่ทั้ง ๔ แห่ง พบการก่อเหตุ อาชญากรรม ในจุดเสี่ยงที่สำนักงานเขตบางแคกำหนด จำนวน ๕
จุด นอกจากนี้ ยังพบมีการก่อเหตุในพื้นที่ นอกจุดเสี่ยงอีก ๕๑ จุด ดังนั้น คณะผู้จัดทำ จึงได้จัดทำ