Page 35 - รายงานสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำ เขตอุทยานแห่งชาติภาคใต้
P. 35

27




                                 การเกิดถ้ำน้ำทะลุ : เป็นถ้ำที่เกิดจากการละลายของหินปูน ในอดีตยุคเพอร์เมียนเมื่อ
                   ประมาณ 299 – 252 ล้านปีก่อน บริเวณถ้ำเคยเป็นทะเลมาก่อนมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในทะเลเป็นจำนวน

                   มาก เช่น ปะการัง ไครนอยด์ หอยฝาเดียว และหอยสองฝา เป็นต้น เมื่อเวลาผ่านไปตะกอนคาร์บอเนตที่
                   สะสมอยู่ในทะเลผ่านกระบวนทางธรณีวิทยาแข็งตัวกลายเป็นหินปูน พร้อมทั้งสิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่ใน
                   ทะเลก็กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลกทำให้ชั้นหินถูกยกตัวขึ้น
                   กลายเป็นภูเขาหินปูน พบโครงสร้างธรณีวิทยา เช่น ชั้นหินคดโค้ง รอยแตก และรอยเลื่อนภายในชั้นหิน

                   จำนวนมาก เป็นต้น หลังจากนั้นน้ำฝนที่รวมตัวกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน
                   ไหลซึมเข้าไปตามรอยแตกและรอยเลื่อน ทำให้รอยแตกและรอยเลื่อนขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนกลายเป็น
                   โพรง ในที่สุดกลายเป็นโถงถ้ำขนาดใหญ่ขึ้น โดยในช่วงแรกโถงถ้ำจะมีน้ำอยู่เต็มโถง เมื่อเวลาผ่านไประดับ
                                                ี
                                                                                            ี
                   น้ำใต้ดินลดลงหรือแผ่นเปลือกโลกมการยกตัว โถงถ้ำที่มีน้ำเต็มโถงก็กลายเป็นโถงถ้ำที่ไม่มน้ำ (โถงบกหรือ
                                                                                                         ้
                   โถงแห้ง) น้ำที่ซึมมาตามรอยแตกและรอยเลื่อนละลายหินปูนไหลเข้ามาในโถงถ้ำแห้งเกิดประติมากรรมถำ
                   จำนวนมาก เช่น หินงอก หินย้อย เสาหิน หินน้ำไหล และทำนบหินปูน เป็นต้น ส่วนระดับน้ำที่ลดลงก็จะไป
                   สร้างโถงถ้ำใหม่บริเวณด้านล่างโถงบกอีกชั้นหนึ่ง เกิดเป็นวัฏจักรการเกิดถ้ำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็น
                   โถงถ้ำหลายชั้น (รูปที่ 3.8) ถ้ำน้ำทะลุ อยู่ในกระบวนการของถ้ำน้ำที่โถงถ้ำอยู่ในช่วงระดับน้ำกำลังลด

                   ระดับ พร้อมการสะสมของตะกอนทางน้ำ หินน้ำไหล และทำนบหินปูน (รูปที่ 3.9)

                                 แนวทางในการบริหารจัดการแหล่ง : แหล่งนี้มีศักยภาพในการพัฒนาและการบริหาร
                   จัดการอยู่ในระดับปานกลางสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับจังหวัดได้ ควรมีเพิ่มป้ายให้ความรู้
                   ทางธรณีวิทยา แผ่นพับ และป้ายแสดงแผนผังภายในถ้ำ ลักษณะการเกิดของถ้ำ รวมถึงการเกิด
                   ประติมากรรมถ้ำ เช่น ม่านหินย้อย เสาหิน หินงอก หินย้อย และทำนบหินปูน เป็นต้น ในช่วงที่ฝนตกหนัก

                   หรือฝนตกต่อเนื่องหลายวัน หรือฤดูฝน ควรงดกิจกรรมเที่ยวถ้ำน้ำทะลุ ระดับน้ำภายในถ้ำที่สูงอาจจะทำ
                                      ่
                                                                 ุ
                   ให้เกิดอันตรายกับนักทองเที่ยวได้ ควรติดต่อเจ้าหน้าที่อทยานแห่งชาติเขาสก หรือไกด์นำเที่ยวท้องถิ่นที่มี
                   ความชำนาญเส้นทางในการท่องเที่ยว เพื่อความปลอดภัย และเพื่อไม่ให้พลาดที่จะชมความงามของถ้ำ
                   3.2.3 แผนผังถ้ำบัวโบก (Bua Boke cave)


                                 ข้อมูลทั่วไป : ถ้ำบัวโบกตั้งอยู่ในเกาะวัวตาหลับ เขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะ
                   อ่างทอง ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี พิกัดที่ 573827 ตะวันออก 1064896 เหนือ
                   เดินทางโดยเรือนำเที่ยวจากท่าเรือบ่อผุดหรือจากท่าเรือหน้าทอน อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
                   ไปยังที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง (เกาะวัวตาหลับ) ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร

                   และเดินเท้าต่อไปยังถ้ำบัวโบกระยะทางประมาณ 500 เมตร

                                 ลักษณะเด่น : เป็นถ้ำที่เกิดจากการละลาย ถ้ำที่มีลักษณะทะลุจากปากถ้ำทิศตะวันออก
                   ลักษณะลาดชันขึ้นสู่ปากถ้ำทิศตะวันตก ระยะประมาณ 50 เมตร ปากถ้ำทิศตะวันตกเป็นหลุมยุบขนาดใหญ่
                   พบก้อนหินขนาดใหญ่ที่ถล่มลงมาจำนวนมากและบางส่วนไหลเข้าสู่ถ้ำ โถงถ้ำหลัก 1 โถง และมีโถงถ้ำย่อย
                   1 โถง ภายในพบประติมากรรมถ้ำ เช่น หินงอก หินย้อย เสาหิน ม่านหินย้อย ไข่มุกถ้ำ และทำนบหินปูน

                   เป็นต้น (รูปที่ 3.10) ผนังถ้ำบริเวณ B1 พบหินย้อยลักษณะคล้ายบัวคว่ำสีเหลืองทอง เป็นที่มาของชื่อ
                   ถ้ำบัวโบก การสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำเทียบได้กับระดับ 4 (grade 4) ตามมาตรฐานการสำรวจของ
                   สมาคมวิจัยถ้ำของประเทศอังกฤษ (British Cave Research Association: BCRA) คณะสำรวจได้

                   กำหนดให้อยู่ระหว่าง ชั้น C (class C) ความยาวโถงหลัก 102.34 เมตร ความยาวโถงย่อย 53.17 เมตร
                   ความยาวรวม 155.51 เมตร (รูปที่ 3.11)
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40