Page 38 - รายงานสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำ เขตอุทยานแห่งชาติภาคใต้
P. 38
30
ในอดีตเคยเป็นทะเล ที่เกิดกระบวนการสะสมตัวของ
ตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต และผ่านกระบวนการ
กลายเป็นหินปูน อายุประมาณ 299 – 252 ล้านปีก่อน
หรือทางธรณีวิทยาเรียกว่า ยุคเพอร์เมียน
ต่อมาการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ทำให้พื้นที่
หินปูนบริเวณนี้ยกตัวขึ้น กลายเป็นภูเขาหินปูนที่มี
รอยแตกและรอยเลื่อนจำนวนมาก
เมื่อเวลาผ่านไป น้ำฝนที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ หรือที่
เรียกว่า กรดคาร์บอนิค ซึมลงไปตามรอยแตก
และรอยเลื่อน ทำให้รอยแตกและรอยเลื่อนขยายใหญ่ขึ้น
กลายเป็นโพรงและโถงถ้ำขนาดใหญ่ภายในหินปูน
ที่มีน้ำอยู่เต็มโถงถ้ำ (โถงน้ำ)
ภายหลังระดับน้ำใต้ดินลดลงหรือแผ่นดินบริเวณนี้มีการ
ยกตัวขึ้น ทำให้โถงถ้ำที่เคยมีน้ำอยู่เต็มโถง
พบระดับน้ำลดลงมา (ระดับเดียวกับพื้นถ้ำบรรพกาลที่มี
ตะกอนโบราณสะสมอยู่) และในปัจจุบันพบว่าระดับน้ำ
ภายในถ้ำมีการลดระดับลงมาอีก ดูได้จากรอยเว้าถ้ำที่
อยู่ใต้หินน้ำไหล หรือทำนบหินปูน ดังปรากฏในปัจจุบัน
ิ
รูปที่ 3.8 แบบจำลองการเกดถ้ำน้ำทะลุ