Page 40 - รายงานสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำ เขตอุทยานแห่งชาติภาคใต้
P. 40
32
ทะเลก็กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลกทำให้ชั้นหินถูกยกตัวขึ้น
กลายเป็นภูเขาหินปูน พบโครงสร้างธรณีวิทยา เช่น ชั้นหินคดโค้ง รอยแตก และรอยเลื่อนภายในชั้นหิน
จำนวนมาก เป็นต้น หลังจากนั้นน้ำฝนที่รวมตัวกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน
ไหลซึมเข้าไปตามรอยแตกและรอยเลื่อน ทำให้รอยแตกและรอยเลื่อนขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนกลายเป็น
โพรง ในที่สุดกลายเป็นโถงถ้ำขนาดใหญ่ขึ้น โดยในช่วงแรกโถงถ้ำจะมีน้ำอยู่เต็มโถง เมื่อเวลาผ่านไประดับ
ี
น้ำใต้ดินลดลงหรือแผ่นเปลือกโลกมการยกตัว โถงถ้ำที่มีน้ำเต็มโถงก็กลายเป็นโถงถ้ำที่ไม่มน้ำ (โถงบกหรือ
ี
โถงแห้ง) น้ำที่ซึมมาตามรอยแตกและรอยเลื่อนละลายหินปูนไหลเข้ามาในโถงถ้ำแห้งเกิดประติมากรรมถ้ำ
จำนวนมาก เช่น หินงอก หินย้อย เสาหิน หินน้ำไหล และทำนบหินปูน เป็นต้น เพดานถ้ำที่บางจนเกิดการ
ถล่มจนเกิดโถงถ้ำที่มีขนาดใหญ่ รวมถึงการเกิดหลุมยุบบริเวณปากถ้ำทิศตะวันตกดังที่เห็นในปัจจุบัน
ส่วนระดับน้ำที่ลดลงก็จะไปสร้างโถงถ้ำใหม่บริเวณด้านล่างโถงบกอีกชั้นหนึ่ง เกิดเป็นวัฏจักรการเกิดถ้ำ
แบบนี้ไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็นโถงถ้ำหลายชั้น
แนวทางในการบริหารจัดการแหล่ง : แหล่งนี้มีศักยภาพในการพัฒนาและการบริหาร
จัดการอยู่ในระดับปานกลางสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับจังหวัดได้ ควรมีเพิ่มป้ายข้อควร
ปฏิบัติในการเที่ยวถ้ำ ให้ความรู้ทางธรณีวิทยา แผ่นพับ และป้ายแสดงแผนผังภายในถ้ำ ลักษณะการเกิด
ของถ้ำ รวมถึงการเกิดประติมากรรมถ้ำ เช่น ม่านหินย้อย เสาหิน หินงอก หินย้อย หินย้อยลักษณะคล้าย
บัวคว่ำ และทำนบหินปูน เป็นต้น
3.2.4 แผนผังถ้ำน้ำ (Num cave)
ข้อมูลทั่วไป : ถ้ำน้ำตั้งอยู่ในเกาะวัวตาหลับ เขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง
ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี พิกัดที่ 574482 ตะวันออก 1064469 เหนือ เดินทาง
โดยเรือนำเที่ยวจากท่าเรือบ่อผุดหรือจากทาเรือหน้าทอน อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปยังที่ทำ
่
การอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง (เกาะวัวตาหลับ) ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร และเดินเท้าต่อไป
ยังถ้ำน้ำระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร
ลักษณะเด่น : เป็นถ้ำที่เกิดจากการละลาย เพดานถ้ำค่อนข้างต่ำ และค่อนข้างแคบ
ภายในถ้ำมีน้ำซึมตามรอยแตกของหินปูนและไหลจากในโถงถ้ำออกสู่ปากถ้ำ น้ำจืดในถ้ำแห่งนี้เป็นแหล่งน้ำ
สำหรับการอุปโภค โถงถ้ำหลัก 1 โถง ภายในพบประติมากรรมถ้ำ เช่น หินงอก หินย้อย หลอดหินย้อย
เสาหิน หินน้ำไหล และม่านหินย้อย เป็นต้น (รูปที่ 3.13) การสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำเทียบได้กับระดับ 4
(grade 4) ตามมาตรฐานการสำรวจของสมาคมวิจัยถ้ำของประเทศอังกฤษ (British Cave Research
Association: BCRA) คณะสำรวจได้กำหนดให้อยู่ระหว่าง ชั้น C (class C) ความยาวโถงหลัก 131.012 เมตร
ความยาวโถงย่อย 5.302 เมตร ความยาวรวม 136.314 เมตร (รูปที่ 3.14)
ลักษณะธรณีวิทยา : ลักษณะภูมิประเทศแบบคาสต์ ถ้ำ หลุมยุบ แนวของเทือกเขา
หินปูนมียอดตะปุ่มตะป่ำและยอดแหลมสูงๆ ต่ำๆ ไม่สม่ำเสมอกัน บริเวณนี้จัดอยู่ในหมวดหินพับผ้า
กลุ่มหินราชบุรี ประกอบด้วย หินปูน หินปูนเนื้อโดโลไมต์ สีเทาปานกลางถึงเทา ชั้นบางถึงหนาปาน
เนื้อหินปูนขนาดละเอียดมีซากดึกดำบรรพ์ปนอยู่น้อยกว่าร้อยละ 10 ถึง เนื้อหินปูนขนาดละเอียด
มีซากดึกดำบรรพ์ปนอยู่มากกว่าร้อยละ 10 (Dunham, 1962) มีก้อนเชิร์ตลักษณะเป็นเลนส์วางตัวตาม
แนวการวางตัวของชั้นหิน แทรกสลับด้วยหินดินดาน สีเทาเข้ม เนื้อประสานเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต
พบซากดึกดำบรรพ์พวกแบรคิโอพอด ปะการัง ไบรโอซัว และแกสโตพอด นอกจากนี้บนเกาะวัวตาหลับยัง