Page 43 - รายงานสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำ เขตอุทยานแห่งชาติภาคใต้
P. 43

35














                                                          (ก)                                        (ข)


                   รูปที่ 3.12 กลุ่มหินราชบุรี บริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง
                          (ก) หินปูน ชั้นบางแทรกสลับด้วยหินดินดาน ชั้นบาง พบรอยเลื่อนย้อน ผนังบริเวณ A8
                          (ข) ซากดึกดำบรรพ์ ไบรโอซัว แบรคิโอพอด ปะการัง และแกสโตรพอด ผนังบริเวณ A8

                                 การเกิดถ้ำน้ำ : เป็นถ้ำที่เกิดจากการละลายของหินปูน ในอดีตยุคเพอร์เมียนเมื่อประมาณ

                   299 – 252 ล้านปีก่อน บริเวณถ้ำเคยเป็นทะเลมาก่อนมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในทะเลเป็นจำนวนมาก เช่น
                   ปะการัง ไครนอยด์ หอยฝาเดียว และหอยสองฝา เป็นต้น เมื่อเวลาผ่านไปตะกอนคาร์บอเนตที่สะสมอยู่ใน
                   ทะเลผ่านกระบวนทางธรณีวิทยาแข็งตัวกลายเป็นหินปูน พร้อมทั้งสิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่ในทะเลก็
                   กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลกทำให้ชั้นหินถูกยกตัวขึ้นกลายเป็น
                   ภูเขาหินปูน พบโครงสร้างธรณีวิทยา เช่น ชั้นหินคดโค้ง รอยแตก และรอยเลื่อนภายในชั้นหินจำนวนมาก

                   เป็นต้น หลังจากนั้นน้ำฝนที่รวมตัวกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ มีฤทธิ์เป็นกรดออน ไหลซึมเข้าไป
                                                                                           ่
                   ตามรอยแตกและรอยเลื่อน ทำให้รอยแตกและรอยเลื่อนขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นโพรง ในที่สุด
                   กลายเป็นโถงถ้ำขนาดใหญ่ขึ้น โดยในช่วงแรกโถงถ้ำจะมีน้ำอยู่เต็มโถง เมื่อเวลาผ่านไประดับน้ำใต้ดินลดลง

                   หรือแผ่นเปลือกโลกมีการยกตัว โถงถ้ำที่มีน้ำเต็มโถงก็กลายเป็นโถงถ้ำที่ไม่มีน้ำ (โถงบกหรือโถงแห้ง) น้ำที่ซึม
                   มาตามรอยแตกและรอยเลื่อนละลายหินปูนไหลเข้ามาในโถงถ้ำแห้งเกิดประติมากรรมถ้ำจำนวนมาก เช่น หิน
                   งอก หินย้อย เสาหิน และหินน้ำไหล เป็นต้น ส่วนระดับน้ำที่ลดลงก็จะไปสร้างโถงถ้ำใหม่บริเวณด้านล่าง
                   โถงบกอีกชั้นหนึ่ง เกิดเป็นวัฏจักรการเกิดถ้ำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็นโถงถ้ำหลายชั้น

                                 แนวทางในการบริหารจัดการแหล่ง : แหล่งนี้มีศักยภาพในการพัฒนาและการบริหาร

                   จัดการอยู่ในระดับต่ำสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับท้องถิ่นได้ แหล่งเรียนรู้เรื่องนิเวศน์สัตว์ที่
                   อาศัยในถ้ำ และแหล่งเรียนรู้เรื่องถ้ำ ควรมีเพิ่มป้ายข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวถ้ำ ให้ความรู้ทางธรณีวิทยา
                   แผ่นพับ และป้ายแสดงแผนผังภายในถ้ำ ลักษณะการเกิดของถ้ำ รวมถึงการเกิดประติมากรรมถ้ำ เช่น
                   ม่านหินย้อย เสาหิน หินงอก หินย้อย และทำนบหินปูน เป็นต้น


                   3.2.5 แผนผังถ้ำแก้ว

                                 ข้อมูลทั่วไป : ถ้ำแก้วตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองพนม ตำบลคลองศก
                   อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี พิกัดที่ 462852 ตะวันออก 981640 เหนือ เดินทางโดยรถยนต์จาก
                   อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ใช้ทางหลวงหมายเลข 401 (พุนพิน-ตะกั่วป่า) ถึงถ้ำปลา ระยะทางประมาณ

                   100 กิโลเมตร (ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติคลองพนมประมาณ 1 กิโลเมตร) และเดินเท้าตาม
                   เส้นทางศึกษาธรรมชาติต่อไปยังถ้ำแก้วระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48