Page 46 - รายงานสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำ เขตอุทยานแห่งชาติภาคใต้
P. 46
38
ลักษณะเด่น : เป็นถ้ำที่เกิดจากการละลาย ถ้ำที่มีทางเข้าและทางออกทางเดียว โถงถ้ำหลัก
1 โถง โถงย่อย 2 โถง ภายในพบประติมากรรมถ้ำที่สวยงาม เช่น หินงอก หินย้อย หลอดหินย้อย เสาหิน
หินน้ำไหล และม่านหินย้อย เป็นต้น (รูปที่ 3.15) แสงไฟที่ส่องกระทบกับหินงอก หินย้อย จะเกิดประกาย
้
แวววาวราวกับประกายของแกว จึงเรียกว่า “ถ้ำแก้ว” การสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำเทียบได้กับระดับ 4
(grade 4) ตามมาตรฐานการสำรวจของสมาคมวิจัยถ้ำของประเทศอังกฤษ (British Cave Research
Association: BCRA) คณะสำรวจได้กำหนดให้อยู่ระหว่าง ชั้น B (class B) ความยาวโถงหลัก 295.80 เมตร
ความยาวโถงย่อย 72.11 เมตร ความยาวรวม 367.91 เมตร (รูปที่ 3.16)
ลักษณะธรณีวิทยา : ลักษณะภูมิประเทศแบบคาสต์ ถ้ำ หลุมยุบ แนวของเทือกเขา
หินปูนมียอดตะปุ่มตะป่ำและยอดแหลมสูงๆ ต่ำๆ ไม่สม่ำเสมอกัน บริเวณนี้จัดอยู่ในหมวดหินอุ้มลูก
กลุ่มหินราชบุรี ประกอบด้วย หินปูน หินปูนเนื้อโดโลไมต์ สีเทาปานกลางถึงเทา ชั้นหนาถึงไม่แสดงชั้น
เนื้อหินปูนขนาดละเอียดมีซากดึกดำบรรพ์ปนอยู่น้อยกว่าร้อยละ 10 ถึง เนื้อหินปูนขนาดละเอียด
มีซากดึกดำบรรพ์ปนอยู่มากกว่าร้อยละ 10 (Dunham, 1962) มีก้อนเชิร์ตลักษณะเป็นเลนส์วางตัวตาม
แนวการวางตัวของชั้นหิน พบซากดึกดำบรรพ์พวกฟูซูลินิด ไครนอยด์สเต็ม หอยฝาเดียว แบรคิโอพอด
หอยสองฝา ปะการัง ฟองน้ำ และไบรโอซัว มีอายุอยู่ในยุคเพอร์เมียนตอนกลาง หรือประมาณ 273-259
ล้านปีมาแล้ว (รูปที่ 3.17)
การเกิดถ้ำแก้ว : เป็นถ้ำที่เกิดจากการละลายของหินปูน ในอดีตยุคเพอร์เมียนเมื่อประมาณ
299 – 252 ล้านปีก่อน บริเวณถ้ำเคยเป็นทะเลมาก่อนมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในทะเลเป็นจำนวนมาก เช่น
ฟูซูลินิด ปะการัง ฟองน้ำ ไครนอยด์ หอยฝาเดียว และหอยสองฝา เป็นต้น เมื่อเวลาผ่านไป
ตะกอนคาร์บอเนตที่สะสมอยู่ในทะเลผ่านกระบวนทางธรณีวิทยาแข็งตัวกลายเป็นหินปูน พร้อมทั้ง
สิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่ในทะเลก็กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลก
ทำให้ชั้นหินถูกยกตัวขึ้นกลายเป็นภูเขาหินปูน พบโครงสร้างธรณีวิทยา เช่น ชั้นหินคดโค้ง รอยแตก และรอยเลื่อน
ภายในชั้นหินจำนวนมาก เป็นต้น หลังจากนั้นน้ำฝนที่รวมตัวกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ มีฤทธิ์
เป็นกรดอ่อน ไหลซึมเข้าไปตามรอยแตกและรอยเลื่อน ทำให้รอยแตกและรอยเลื่อนขยายขนาดใหญ่ขึ้นจน
กลายเป็นโพรง ในที่สุดกลายเป็นโถงถ้ำขนาดใหญ่ขึ้น โดยในช่วงแรกโถงถ้ำจะมีน้ำอยู่เต็มโถง เมื่อเวลาผ่าน
ไประดับน้ำใต้ดินลดลงหรือแผ่นเปลือกโลกมีการยกตัว โถงถ้ำที่มีน้ำเต็มโถงก็กลายเป็นโถงถ้ำที่ไม่มน้ำ (โถงบก
ี
หรือโถงแห้ง) น้ำที่ซึมมาตามรอยแตกและรอยเลื่อนละลายหินปูนไหลเข้ามาในโถงถ้ำแห้งเกิดประติมากรรม
ถ้ำจำนวนมาก เช่น หินงอก หินย้อย เสาหิน ม่านหินย้อย และหินน้ำไหล เป็นต้น ส่วนระดับน้ำที่ลดลงก็จะ
ไปสร้างโถงถ้ำใหม่บริเวณด้านล่างโถงบกอกชั้นหนึ่ง เกิดเป็นวัฏจักรการเกิดถ้ำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็น
ี
โถงถ้ำหลายชั้น
แนวทางในการบริหารจัดการแหล่ง : แหล่งนี้มีศักยภาพในการพัฒนาและการบริหาร
จัดการอยู่ในระดับปานกลางสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับจังหวัดได้ แหล่งเรียนรู้เรื่องนิเวศน์
สัตว์ที่อาศัยในถ้ำ และแหล่งเรียนรู้เรื่องถ้ำ ควรเพิ่มป้ายข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวถ้ำ ให้ความรู้ทาง
ธรณีวิทยา แผ่นพับ และป้ายแสดงแผนผังภายในถ้ำ ลักษณะการเกิดของถ้ำ รวมถึงการเกิดประติมากรรมถ้ำ
เช่น ม่านหินย้อย เสาหิน หินงอก หินย้อย และทำนบหินปูน เป็นต้น