Page 50 - รายงานสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำ เขตอุทยานแห่งชาติภาคใต้
P. 50
42
(ก) (ข)
รูปที่ 3.17 กลุ่มหินราชบุรี บริเวณอุทยานแห่งชาติคลองพนม
(ก) ซากดึกดำบรรพ์หอยฝาเดียว ผนังด้านซ้ายบริเวณระหว่าง A13-A14
(ข) ซากดึกดำบรรพฟูซูลินิด ผนังด้านขวาบริเวณระหว่าง A21-A22
์
3.2.6 แผนผังถ้ำพระ
ข้อมูลทั่วไป : ถ้ำพระตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองพนม ตำบลคลองศก
อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี พิกัดที่ 464442 ตะวันออก 959511 เหนือ เดินทางโดยรถยนต์จาก
อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ใช้ทางหลวงหมายเลข 401 (พุนพิน-ตะกั่วป่า) ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร
แล้วเลี้ยวซ้ายใช้ทางหลวงหมายเลข 4118 (พนม-ทับปุด) ระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร และเลี้ยวขวา
บริเวณบ้านบางลึก เข้าสู่หน่วยพิทักษ์ฯ ที่ คน.3 (น้ำตกโตนใหญ่) ระยะทางประมาณ 800 เมตร และเดิน
เท้าตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติต่อไปยังถ้ำพระระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร
ลักษณะเด่น : เป็นถ้ำที่เกิดจากการละลาย ภายในถ้ำพบไข่มุกถ้ำ และน้อยหน่าถ้ำ
จำนวนมาก โถงถ้ำหลัก 1 โถง โถงย่อย 4 โถง พบประติมากรรมถ้ำที่สวยงาม เช่น หินงอก หลอดหินย้อย
หินย้อย เสาหิน หินน้ำไหล และม่านหินย้อย เป็นต้น (รูปที่ 3.18) การสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำเทียบได้
กับระดับ 3 (grade 3) ตามมาตรฐานการสำรวจของสมาคมวิจัยถ้ำของประเทศอังกฤษ (British Cave
Research Association: BCRA) คณะสำรวจได้กำหนดให้อยู่ระหว่าง ชั้น B (class B) ความยาวโถงหลัก
168.188 เมตร ความยาวโถงย่อย 170.504 เมตร ความยาวรวม 338.692 เมตร (รูปที่ 3.19)
ลักษณะธรณีวิทยา : ลักษณะภูมิประเทศแบบคาสต์ ถ้ำ แนวของเทือกเขาหินปูนมียอด
ตะปุ่มตะป่ำและยอดแหลมสูงๆ ต่ำๆ ไม่สม่ำเสมอกัน มีแนวการวางตัวในทิศเกือบเหนือ-ใต้ บริเวณนี้จัดอยู่
ในหมวดหินพนมวัง กลุ่มหินราชบุรี ประกอบด้วย หินปูน หินปูนเนื้อโดโลไมต์ สีเทาปานกลางถึงเทา
ชั้นหนาปานกลางถึงหนา หินปูนแสดงลักษณะชั้นแบบริ้วขนานอย่างต่อเนื่อง (continuous wavy
parallel (Campbell, 1967)) เนื้อหินปูนขนาดละเอียดมีซากดึกดำบรรพ์ปนอยู่น้อยกว่าร้อยละ 10
(Dunham, 1962) มีก้อนเชิร์ตลักษณะเป็นเลนส์วางตัวตามแนวการวางตัวของชั้นหิน พบซากดึกดำบรรพ ์
พวกไครนอยด์สเต็ม หอยฝาเดียว แบรคิโอพอด หอยสองฝา ปะการัง ฟองน้ำ แอมโมนอยด์ และไบรโอซัว
มีอายุอยู่ในยุคเพอร์เมียนตอนกลาง หรือประมาณ 273-259 ล้านปีมาแล้ว (รูปที่ 3.20)
การเกิดถ้ำพระ : เป็นถ้ำที่เกิดจากการละลายของหินปูน ในอดีตยุคเพอร์เมียนเมื่อ
ประมาณ 299 – 252 ล้านปีก่อน บริเวณถ้ำเคยเป็นทะเลมาก่อนมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในทะเลเป็นจำนวน