Page 124 - แผนยุทธศาสตร์พัฒนาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3
P. 124

ข้อมูลยุทธศาสตร์จังหวัดฉะเชิงเทรา

                         แผนพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา ปี พ.ศ. 2557 - 2560 ได้ก้าหนดวิสัยทัศน์ เพื่อก้าหนดทิศทางการ
                  พัฒนา คือ "ศูนย์กลางแห่งบูรพาวิถีสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ฐานอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมโดดเด่น

                  สินค้าเกษตรเป็นเลิศ ท่องเที่ยวยั่งยืน สังคมเป็นสุข"
                  เป้าประสงค์รวม คือ เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ สังคมคุณภาพ สิ่งแวดล้อมมั่นคง ประชาชน

                  เป็นสุข มีความพร้อมในการเข้าสู่เศรษฐกิจอาเซียน และสากล โดย ประกอบไปด้วย 5 ยุทธศาสตร์ที่ส้าคัญ คือ
                  ประเด็นยุทธ์ศาสตร์ที่ 1 : เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของภาคอุสาหกรรมและพาณิชยกรรมรองรับ AEC

                  และตลาดโลก

                  เป้าประสงค์ยุทธศาสตร์ : อุตสาหกรรมและพานิชยกรรมมีความเจริญเติบโตและชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันโดย
                  ไม่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม

                  กลยุทธ์ :

                         • พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมเพื่อเตรียม
                  เข้าสู่ AEC

                         • ส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาฝีมือแรงงาน และสร้างนวัตกรรมสินค้า

                  อุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐาน
                         • ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมและชุมชน

                  ตัวชี้วัด
                         • ร้อยละของจ้านวนโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรมและพานิชยก

                  รรมเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 5)

                         • ร้อยละของจ้านวนโรงงานอุตสาหกรรมที่ร่วมกับภาครัฐในการรักษาสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น   (ร้อยละ
                  3)

                         • ร้อยละของแรงงานที่ได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงาน (ร้อยละ 5)


                  ประเด็นยุทธ์ศาสตร์ที่ 2 : เพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้า เกษตร

                  ปลอดภัย
                  เป้าประสงค์ยุทธศาสตร์ :

                  เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานและสามารถแข่งขันได้

                  กลยุทธ์ :
                         • พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร

                         • พัฒนา เพิ่มผลผลิต แปรรูปสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ OTOP ให้ได้มาตรฐาน และปลอดภัย คิดค้น

                  ผลิตภัณฑ์ใหม่ให้สร้างมูลค่าเพิ่ม
                         • ส่งเสริมภาพลักษณ์ และช่องทางการตลาดสินค้าเกษตรและ OTOP ของจังหวัดที่มีความหลากหลาย

                         • ส่งเสริมเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการอัน
                  เนื่องมาจากพระราชด้าริเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129