Page 127 - แผนยุทธศาสตร์พัฒนาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3
P. 127
ข้อมูลจังหวัดสมุทรปราการ
ประวัติจังหวัดสมุทรปราการ
สมุทรปราการ เป็นเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตัวเมืองเก่าอยู่แถบอ้าเภอพระประแดงและมี
ชื่อเรียกว่า “เมืองพระประแดง” เป็นสถานที่พักของเมืองสินค้าต่างชาติที่มาติดต่อค้าขายกับไทย ที่บริเวณริม
ทะเลมีการสร้างป้อมค่ายคูเมืองอย่างมั่นคงแข็งแรง ต่อมา ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงโปรด
ให้รื้อก้าแพงเมืองพระประแดงออก จวบจนสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)
ทรงเห็นว่าจะเป็นช่องทางที่ข้าศึกจะยกทัพมาได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการขึ้นที่
ต้าบลปากน้้าในปี พ.ศ. 2362 โดยใช้เวลาสร้าง 3 ปี และได้จัดสร้างป้อมปราการขึ้นทั้งสองฝั่งแม่น้้าถึง 6 ป้อม
คือ ป้อมประโคนชัย ป้อมนารายณ์ปราบศึก ป้อมปราการ ป้อมประกายสิทธิ์ ป้อมนาคราช และป้อมผีเสื้อ
สมุทร ในขณะที่สร้างเมืองนั้น รัชกาลที่ 2 ได้เสด็จทอดพระเนตรหลายครั้งและทรงสร้างพระมหาเจดีย์ ขึ้นที่
เกาะกลางน้้าแล้วพระราชทานนามว่า “พระสมุทรเจดีย์” การสร้างยังมิทันเสร็จได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมา
ในรัชกาลที่ 3 ได้ทรงสร้างต่อจนส้าเร็จและสร้างป้อมขึ้นอีก 3 แห่ง คือ ป้อมตรีเพชร ป้อมคงกระพัน และป้อม
เสือซ่อนเล็บ
ในปี พ.ศ. 2402 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ทรงปฏิสังขรณ์พระสมุทร
เจดีย์ให้สูงขึ้นและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมชายทะเลอีกแห่งหนึ่ง พระราชทานนามว่า “ป้อม
พระจุลจอมเกล้า” ซึ่งในปัจจุบันป้อมต่างๆ ได้ปรักหักพังลงคงเหลือแต่ป้อมผีเสื้อสมุทรและป้อมพระ
จุลจอมเกล้าเท่านั้น
สมุทรปราการ หรือ เมืองปากน้้า มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองพระประแดง ห่างจากกรุงเทพฯ
ประมาณ 29 กิโลเมตร สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ปลายสุดของแม่น้้าเจ้าพระยา ทางด้านเหนือของ
อ่าวไทย มีพื้นที่ประมาณ 1,004 ตารางกิโลเมตร จังหวัดสมุทรปราการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 อ้าเภอ
ได้แก่ อ้าเภอเมืองสมุทรปราการ อ้าเภอพระประแดง อ้าเภอบางพลี อ้าเภอบางบ่อ อ้าเภอพระสมุทรเจดีย์ และ
อ้าเภอบางเสาธง
สภาพภูมิศาสตร์
ที่ตั้งและขนาดพื้นที่ จังหวัดสมุทรปราการตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้้าเจ้าพระยาตอนปลายสุดของแม่น้้า
เจ้าพระยาและเหนืออ่าวไทย มีเนื้อที่ประมาณ 1,004 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 627,557 ไร่ ตั้งอยู่ภาค
กลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๒๙ กิโลเมตร
ทิศเหนือติดกับกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 55 กิโลเมตร
ทิศใต้ติดกับอ่าวไทย (พื้นที่ชายฝั่งทะเล) ระยะทาง 47.20 กิโลเมตร
ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดฉะเชิงเทรา ระยะทาง 42.60 กิโลเมตร
ทิศตะวันตกติดกับกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 34.20 กิโลเมตร