Page 130 - แผนยุทธศาสตร์พัฒนาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3
P. 130
สถานการณ์และแนวโน้ม ด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ
จากข้อมูลของส้านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่าในปี
2553 จังหวัดสมุทรปราการ มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP : Gross Provincial Product) จ้านวน
698,022 ล้านบาท ซึ่งมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ ๒ ของประเทศรองจากกรุงเทพมหานคร และมีมูลค่าผลิตภัณฑ์
จังหวัดเฉลี่ยต่อคน (GPP Per Capital) จ้านวน 528,899 บาท/ปี ซึ่งสูงเป็นอันดับ 4 ของประเทศรองจาก
ระยอง สมุทรสาคร และพระนครศรีอยุธยา โดยผลิตภัณฑ์จังหวัดสาขาที่มีมูลค่ามากที่สุด คือ อุตสาหกรรม
(การผลิต) มีมูลค่าสูงถึง 490,994 ล้านบาท หรือร้อยละ 70.34 ของผลิตภัณฑ์จังหวัด รองลงมา ได้แก่
การขนส่ง/ คมนาคม และสถานที่เก็บสินค้า (Logistics) ร้อยละ ๑๕.๗๕ การค้าส่งค้าปลีก ร้อยละ 4.15
ส่วนภาคเกษตรกรรมมีมูลค่า 3,252 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.47 ซึ่งมูลค่าผลิตภัณฑ์ภาคเกษตรกรรม 2553
มีแนวโน้มลดลง จากปี 2552 มีมูลค่า 5,658 ล้านบาท และในปี 2553 มีมูลค่า 3,252 ล้านบาท หรือลดลง
ร้อยละ 42.52
ตารางที่ 4 แสดงมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสมุทรปราการ ปี 2549 - 2553
สาขาการผลิต ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2553 p1
ภาคเกษตรกรรม 4,805 4,594 5,008 5,658 3,252
1. เกษตรกรรม การล่าสัตว์ และ 674 785 969 1,068 1,131
การป่าไม้
2. การประมง 4,131 3,809 4,039 4,591 2,121
3. นอกภาคเกษตรกรรม 507,231 612,184 637,426 601,970 694,770
4. อุตสาหกรรม (การผลิต) 395,013 415,902 448,485 427,658 490,994
5. การไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา 13,029 12,193 11,730 11,692 13,687
6. การก่อสร้าง 8,525 10,325 9,453 8,558 8,031
7. การขายส่ง การขายปลีก การ 23,807 25,314 28,247 24,024 28,964
ซ่อมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของ
ใช้ส่วนบุคคล และของใช้ใน
ครัวเรือน
8 . โรงแรม และภัตตาคาร 8,179 8,700 9,117 11,475 13,133
9. การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า 33,750 112,721 101,364 91,308 109,941
และการคมนาคม
10. ตัวกลางทางการเงิน 7,089 8,357 9,749 7,193 7,691
11. บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ 5,224 5,237 5,103 5,907 5,513
การให้เช่า และบริการธุรกิจ