Page 20 - COJ-2020_
P. 20
๖. สำ นักงานศาลยุติธรรม
นับจากวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๓ ศาลยุติธรรมได้แยกเป็นอิสระจากกระทรวงยุติธรรม โดยมี
สำานักงานศาลยุติธรรมเป็นหน่วยงานอิสระ มีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นหน่วยธุรการ และมีเลขาธิการสำานักงาน
ศาลยุติธรรม เป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา ในการแต่งตั้งเลขาธิการสำานักงานศาลยุติธรรม
ต้องมาจากการเสนอของประธานศาลฎีกาและได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมแล้ว ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้มีอำานาจสั่งบรรจุ
และดำาเนินการเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไปซึ่งเลขาธิการสำานักงานศาลยุติธรรมต้องแต่งตั้ง
จากบุคคลที่โอนมาจากตุลาการ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๒๓
กำาหนดให้ข้าราชการตุลาการ ผู้นั้นพ้นจากข้าราชการตุลาการ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถือเป็นการเปลี่ยนแปลง
ครั้งสำาคัญของศาลยุติธรรม ทั้งนี้ด้วยเจตนารมณ์เพื่อให้ศาลยุติธรรมมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริงให้สามารถ
ดุลและคานกับอำานาจนิติบัญญัติและอำานาจบริหารได้อย่างเหมาะสม
ส่วนบุคคลที่เป็นกลไกสำาคัญในการบริหารราชการของสำานักงานศาลยุติธรรมคือ ประธานศาลฎีกา
มีอำานาจหน้าที่เช่นเดียวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการศาลยุติธรรม และ
เลขาธิการสำานักงานศาลยุติธรรม ซึ่งมีอำานาจหน้าที่ทำานองเดียวกับปลัดกระทรวงยุติธรรม บทบาทของ
ประธานศาลฎีกาตามกฎหมายจึงเปลี่ยนไปจากเดิมเป็นอย่างมาก และจำาเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจาก
บุคลากรในสังกัดเพื่อให้การบริหารงานเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนโดยส่วนรวม
๖.๑ อำ นาจหน้าที่
สำานักงานศาลยุติธรรมมีอำานาจหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการศาลยุติธรรม อาทิ การจัดทำางบประมาณ
รายจ่ายประจำาปี การบริหารการเงิน การพัสดุ การวางแผนเกี่ยวกับบุคลากร การบริหารจัดการอาคารสถานที่
งานทางวิชาการ และงานส่งเสริมงานตุลาการ ซึ่งลักษณะของงานเหล่านี้เป็นไปตามลักษณะของการบริหาร
องค์กรหรือหน่วยงาน และที่สำาคัญ คือการสนับสนุนงานตุลาการอันเป็นภาระหลักให้ดำาเนินไปอย่างเป็นระบบ
มีประสิทธิภาพ และเป็นเลิศในการอำานวยความยุติธรรม
19