Page 17 - COJ-2020_
P. 17
๔.๒ ผู้พิพากษาอาวุโส
ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและดำารงตำาแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส พ.ศ.๒๕๔๒ เมื่อ
ผู้พิพากษามีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่มาแล้วไม่น้อยกว่ายี่สิบปีและผ่านการประเมิน
สมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ โดยได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมและได้รับ
พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำารงตำาแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีในศาลฎีกา
ศาลอุทธรณ์ หรือศาลชั้นต้น จนกระทั่งมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์
ผู้พิพากษาอาวุโสไม่มีสิทธิได้รับการแต่งตั้งให้ดำารงตำาแหน่งในทางบริหารได้ เช่น ไม่สามารถ
ดำารงตำาแหน่งเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาล หรือปฏิบัติหน้าที่ในตำาแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล นอกจากนี้
ผู้พิพากษาอาวุโส ไม่มีสิทธิรับเลือกเข้ามาเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม หรือกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
แต่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งกรรมการดังกล่าว
๔.๓ ผู้พิพากษาสมทบ
ผู้พิพากษาสมทบ คือบุคคลภายนอกที่ได้รับเลือกเป็นพิเศษให้เข้าปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับผู้พิพากษา
ในศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน หรือศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
ทั้งนี้เพื่อให้มีบุคคลภายนอกที่มีประสบการณ์หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องร่วมพิจารณา
และพิพากษาคดีกับผู้พิพากษา
ผู้พิพากษาสมทบเป็นตำาแหน่งที่แตกต่างจากผู้พิพากษา คือ เป็นตำาแหน่งที่ไม่ใช่ตำาแหน่งประจำา
วาระในการดำารงตำาแหน่งผู้พิพากษาสมทบขึ้นอยู่กับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลพิเศษและศาลชำานัญพิเศษ
ที่ผู้พิพากษาสมทบปฏิบัติงานกำาหนดไว้
๔.๔ ดะโต๊ะยุติธรรม
พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล
พ.ศ.๒๔๘๙ บัญญัติให้สามารถนำากฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกมาใช้แทนประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ ในการพิจารณาคดีครอบครัวและมรดกของอิสลามศาสนิกในศาลชั้นต้นในจังหวัดปัตตานี
นราธิวาส ยะลา และสตูล ซึ่งอิสลามศาสนิกเป็นทั้งโจทก์ จำาเลย หรือเป็นผู้เสนอคำาขอในคดีที่ไม่มีข้อพิพาท
ในกรณีเช่นนี้ผู้พิพากษาและดะโต๊ะยุติธรรม ซึ่งเป็นผู้ที่มีความชำานาญในกฎหมายอิสลามจะนั่งพิจารณาคดี
ร่วมกัน เพื่อให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายอิสลาม
ดะโต๊ะยุติธรรมจะต้อง มีอายุไม่น้อยกว่า ๓๐ ปี เข้าใจภาษาไทยในระดับที่กำาหนดไว้ และมีความรู้
เกี่ยวกับหลักศาสนาและกฎหมายอิสลาม
16