Page 14 - COJ-2020_
P. 14

๓.๓ ศาลฎีกา


               เป็นศาลสูงสุด มีประธานศาลฎีกาซึ่งเป็นประมุขของตุลาการศาลยุติธรรม เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด
        ศาลฎีกามีเขตอำานาจทั่วทั้งราชอาณาจักร  มีอำานาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์หรือฎีกาคำาพิพากษา

        หรือคำาสั่งของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค ตามที่กฎหมายบัญญัติ รวมทั้งมีอำานาจพิจารณา
        พิพากษาคดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้เสนอต่อศาลฎีกาได้โดยตรง (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
        มาตรา ๒๓) คำาสั่งหรือคำาพิพากษาของศาลฎีกาเป็นที่สุด เช่น คดีอาญาของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมือง
        หรือคดีเลือกตั้งตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
        พ.ศ. ๒๕๖๑



               สำาหรับการตัดสินคดีความนั้น ศาลฎีกาจะมีองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีประกอบด้วยผู้พิพากษา
        อย่างน้อย ๓ คน แต่หากมีคดีความที่ขัดข้องในเรื่องข้อเท็จจริงหรือประสบปัญหาข้อกฎหมาย และประธาน

        ศาลฎีกาเห็นควรให้มีการพิจาณาตัดสินความอย่างถี่ถ้วน ประธานศาลฎีกามีอำานาจสั่งการให้นำาปัญหา
        ดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัยต่อไป ทั้งนี้ ศาลฎีกาจะมีกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
        ทำาหน้าที่ในลักษณะเดียวกันกับกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และศาลอุทธรณ์
        คดีชำานัญพิเศษ


        เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการไขข้อขัดข้องทางกฎหมายของบ้านเมืองให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม
        ได้กำาหนดให้ศาลฎีกามีแผนกคดีอาญาของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมือง เพื่อทำาหน้าที่พิพากษาคดีที่มี
        ร้องเรียนในเรื่องความถูกต้องและความเหมาะสม ทั้งด้านสถานภาพทางการเงิน หรือมูลเหตุที่แสดงให้เห็น

        ถึงการกระทำาทุจริตในหน้าที่ของผู้ดำารงตำาแหน่งทางเมือง ทั้ง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
        สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่น ซึ่งปรากฏตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
        การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยการพิจารณาคดีดังกล่าวจะมีองค์คณะผู้พิพากษา
        ในแผนกนี้ ประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคยดำารงตำาแหน่งไม่ต่ำากว่าผู้พิพากษา
        ศาลฎีกา จำานวน ๙ คน ซึ่งได้รับคัดเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาให้เข้ามาทำาหน้าที่ตัดสินคดีความ มีการ

        ขึ้นนั่งพิจารณาคดีเช่นเดียวกันกับการตัดสินคดีความของศาลชั้นต้น แต่การพิจารณาคดีจะแตกต่างไปจาก
        คดีทั่วไป เนื่องจากเป็นระบบไต่สวน ซึ่งศาลมีอำานาจไต่สวนเพื่อเสาะหาข้อเท็จจริง และสามารถเรียกหา
        พยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร  ตามวิธีพิจารณาคดีที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบ

        รัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยคำาพิพากษา
        ถือเป็นที่สุด เว้นแต่มีพยานหลักฐานใหม่ จึงสามารถอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้






  13
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19