Page 28 - COJ-2020_
P. 28
๘. ศาลยุติธรรมกับการพัฒนาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในระดับสากล
เจ้าพนักงานตำารวจศาล
การปฏิบัติหน้าที่ของศาลยุติธรรมจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพจำาเป็นต้องมี
ระบบการรักษาความปลอดภัยภายในศาลที่เข้มแข้ง และมีระบบการติดตามจับกุมผู้หลบหนีที่มีประสิทธิภาพ
ซึ่งสำานักงานศาลยุติธรรมมีความพยายามที่จะจัดตั้งหน่วยงานภายในที่มีภารกิจในการรักษาความสงบเรียบร้อย
และความปลอดภัยในบริเวณศาล รักษาความปลอดภัยข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมในการปฏิบัติ
หน้าที่มาเป็นเวลานานหลายทศวรรษจนกระทั่งเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ พระราชบัญญัติเจ้าพนักงาน
ตำารวจศาล พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้มีผลใช้บังคับ และเจ้าพนักงานตำารวจศาลชุดแรก จำานวน ๓๕ คน ซึ่งมีหน้าที่
รักษาความสงบเรียบร้อยและรักษาความปลอดภัยบุคคลและทรัพย์สินในบริเวณศาล ป้องกันและปราบปราม
การกระทำาผิดในบริเวณศาล รักษาความปลอดภัยและคุ้มครองข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมใน
การปฏิบัติการตามหน้าที่ และติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวและหมายจับของศาลได้เริ่มปฏิบัติ
หน้าที่ตั้งแต่วันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๒
การเปิดศูนย์วิเทศอาเซียน
ศาลยุติธรรมได้จัดตั้ง “ศูนย์วิเทศอาเซียน” ขึ้น ณ สำานักงานต่างประเทศ อาคารศาลอาญา ชั้น ๑๒
ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร เพื่อทำาหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลข่าวสารอันเกี่ยวเนื่อง
ด้วยเรื่องประชาคมอาเซียน ทั้งจากบทความทางวิชาการ ข้อมูลข่าวสารจากเว็บไซต์และสื่อรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อเป็นองค์ความรู้เผยแพร่สู่บุคลากรภายในหน่วยงานศาลยุติธรรม
นอกจากนี้ ศูนย์วิเทศอาเซียน ยังจัดให้มีการอบรมแก่บุคลากรภายในหน่วยงานของศาลยุติธรรม
เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนในด้านต่างๆ จัดทำาและประสานงานโครงการแลกเปลี่ยนข้าราชการฝ่ายตุลาการ
ในระดับสากลกับประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนรวมถึงการประสานการอำานวยความยุติธรรมในระดับสากล
กับประเทศสมาชิก
ศูนย์อำานวยความยุติธรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Justice Conference Center: EJCC)
ด้วยคำานึงถึงการอำานวยประโยชน์ต่อประชาชนและสังคมอย่างสูงสุด สำานักงานศาลยุติธรรมได้
จัดตั้งศูนย์อำานวยความยุติธรรมอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ในการช่วยส่งเสริมและสนับสนุน
การสืบพยานบุคคล โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีความไม่จำาเป็นต้องปรากฏตัวในห้องพิจารณาคดี ทั้งยัง
อำานวยความสะดวกให้พยานบุคคล ผู้เชี่ยวชาญ และล่าม ให้สามารถให้การโดยการแปลภาษาต่อหน้าศาล
และคู่ความได้ในสถานการณ์ซึ่งโดยปกติแล้วไม่สามารถให้การสื่อสารด้านภาษาต่อศาลด้วยตนเองในห้อง
พิจารณาคดี ทำาให้กระบวนพิจารณาคดีของศาลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ประหยัด ทั้งยังเป็นการคุ้มครองผู้
เยาว์และพยานสำาคัญ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญและล่าม หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าโดยตรงกับศาลและคู่ความใน
ห้องพิจารณาคดี ตามนโยบายสาธารณะในการเข้าถึงกระบวนการพิจารณาคดีที่มีประสิทธิภาพและการ
อำานวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึง
27