Page 92 - คู่มือมาตรฐานกำหนดตำแหน่งข้าราชการศาลยุติธรรม
P. 92
79 มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ประเภทวิชาการ
ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 : วันที่ 15 มีนาคม 2561
ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน วิชาการพัสดุ
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักวิชาการพัสดุ
ระดับตำแหน่ง เชี่ยวชาญ
หนาที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผูปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงานด้านวิชาการพัสดุ โดยใชความรู
ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงปฏิบัติงานเชิงพัฒนาระบบหรือมาตรฐานของงาน
หรืองานพัฒนาทฤษฎี หลักการ ความรู้ใหม่ ปฏิบัติงานวิจัยด้านวิชาการพัสดุ และนำมาประยุกต์ใช้
ในทางปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนงานโครงการสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์
ตลอดจนเสนอแนะและประเมินผลแผนงาน โครงการ และตัดสินใจหรือแกปญหาในทางวิชาการที่ยาก
และซับซอนมาก และมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ไดรับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผูปฏิบัติงานใหคําปรึกษาของศาลยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งใช
ความรูความสามารถ ประสบการณและความเชี่ยวชาญในดานวิชาการพัสดุ ปฏิบัติงานที่ตองตัดสินใจ
หรือแกปญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซอนมากและมีผลกระทบในวงกวาง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได
รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในดานตางๆ ดังนี้
1. ดานการปฏิบัติการ
1.1 เสนอแนะรูปแบบและเทคนิคเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างรูปแบบต่างๆ ของศาลยุติธรรม
และสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อให้การดำเนินงานด้านการพัสดุเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เกี่ยวกับงานวิชาการพัสดุ และเผยแพร่ผลงานที่ก่อให้เกิด
ความรู้ใหม่หรือเทคนิควิธีการใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่องานวิชาการพัสดุ
1.3 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เกี่ยวกับระบบงานพัสดุ ระบบงานบัญชี ทะเบียนคุมทรัพย์สิน
คุณลักษณะเฉพาะของวัสดุ การแยกประเภทวัสดุ และทรัพย์สินอื่นในความรับผิดชอบของสำนักงาน
ศาลยุติธรรมและหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการพัสดุ
ที่นำมาใช้ในการตัดสินใจ และวางแผนด้านการพัสดุของศาลยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรม
มีประสิทธิภาพ
1.4 จัดทำข้อเสนอในการพัฒนาระบบและมาตรฐานงานพัสดุ วิธีการ และระเบียบปฏิบัติ
ทางด้านวิชาการพัสดุ เพื่อพัฒนาระบบหรือมาตรฐานในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ
ส่วนอัตรากำลังและค่าตอบแทน สำนักคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม