Page 106 - 2553-2561
P. 106

ค�าวินิจฉัยชี้ขาดอ�านาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔๙/๒๕๕๓                    ศาลจังหวัดนครนายก

                                                                                         ศาลปกครองกลาง



                  พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ (มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑))
                  พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗

                  พระราชบัญญัติสภาต�าบลและองค์การบริหารส่วนต�าบล พ.ศ. ๒๕๓๗

                  พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙


                           คดีที่เอกชนยื่นฟ้องหน่วยงานทางปกครองว่า โจทก์ทั้งแปดเป็นผู้มีชื่อถือสิทธิครอบครองที่ดินร่วมกัน

                  ตาม น.ส. ๓ เลขที่ ๒๗๘ และไปขอออกโฉนดที่ดิน แต่องค์การบริหารส่วนต�าบลคัดค้านว่า ที่ดินบางส่วนอยู่ใน

                  เขตที่สาธารณประโยชน์ จ�าเลยจึงมีค�าสั่งให้แก้ไขรูปแผนที่และเนื้อที่ใน น.ส. ๓ ดังกล่าว ให้มีเนื้อที่ลดลง
                  จากเดิม ส่วนที่เหลือน�าไปรวมเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ ขอให้พิพากษาหรือมีค�าสั่งว่า น.ส. ๓ เลขที่ ๒๗๘
                  เนื้อที่ ๗๐ ไร่ ๑ งาน ๖๘ ตารางวา จ�าเลยออกให้แก่โจทก์ทั้งแปดโดยชอบและโจทก์ทั้งแปดมีสิทธิครอบครอง

                  ในที่ดินเต็มเนื้อที่ตามหนังสือรับรองการท�าประโยชน์ ให้ที่ดินจ�านวน ๕๘ ไร่ ๑๓ ตารางวา ซึ่งเป็นที่ดินส่วนที่

                  จ�าเลยมีค�าสั่งเปลี่ยนแปลงรูปที่ดินเป็นของโจทก์ทั้งแปด ให้เพิกถอนค�าสั่งแก้ไขรูปแผนที่และเนื้อที่ใน น.ส. ๓
                  และให้ออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งแปดตามจ�านวนเนื้อที่ที่ได้เข้าครอบครองท�าประโยชน์ตาม น.ส. ๓
                  เลขที่ ๒๗๘ เห็นว่า แม้คดีนี้ศาลจ�าต้องพิจารณาสิทธิของโจทก์ทั้งแปดในที่ดินพิพาทก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริง

                  ปรากฏว่า โจทก์ที่ ๑ เคยยื่นฟ้องอธิบดีกรมที่ดินกับพวกให้ออกโฉนดในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งแปดต่อ

                  ศาลปกครองกลาง จนกระทั่งศาลพิจารณาแล้วพิพากษาไว้ว่า ที่พิพาทตาม น.ส. ๓ เลขที่ ๒๗๘ บางส่วนเป็น
                  ที่สาธารณประโยชน์ และคดีถึงที่สุดแล้ว หลังจากนั้นจ�าเลยจึงมีค�าสั่งแก้ไขรูปแผนที่และเนื้อที่ของ น.ส. ๓
                  ที่พิพาท โจทก์ทั้งแปดจึงมาฟ้องขอให้เพิกถอนค�าสั่งและมีค�าขอให้ออกโฉนดที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้ ดังนั้น

                  มูลความแห่งคดีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกันกับคดีเดิม ซึ่งศาลปกครองกลางได้เคยพิจารณาวินิจฉัยไว้แล้ว หากให้

                  ศาลยุติธรรมพิจารณาคดีนี้อีก อาจเกิดกรณีที่ศาลสองศาลมีค�าพิพากษาขัดกันซึ่งไม่เป็นผลดีแก่ทุกฝ่าย คดีจึง
                  อยู่ในอ�านาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง


























                                                                   รวมย่อค�าวินิจฉัยชี้ขาดอ�านาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ
                                                                                           พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๖๑ 105
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111