Page 103 - 2553-2561
P. 103
ค�าวินิจฉัยชี้ขาดอ�านาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๗๙/๒๕๖๑ ศาลจังหวัดบุรีรัมย์
ศาลปกครองนครราชสีมา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๙๔ และมาตรา ๑๙๗ และพระราชบัญญัติจัดตั้ง
ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) มีเจตนารมณ์ในการก�าหนดเขต
อ�านาจในการพิจารณาพิพากษาคดีระหว่างศาลยุติธรรมและศาลปกครอง โดยให้ศาลปกครองมีอ�านาจหน้าที่
ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระท�าทางปกครอง ซึ่งต้องวินิจฉัยตามระบบกฎหมายมหาชน
ส่วนอ�านาจหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิของเอกชน หรือข้อพิพาทที่มีผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง
ของเอกชน เป็นปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามระบบกฎหมายเอกชน ซึ่งอยู่ในอ�านาจพิจารณาพิพากษาของ
ศาลยุติธรรม เมื่อคดีนี้โจทก์ทั้งสองเป็นเอกชนอ้างว่าเป็นผู้ครอบครองที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน
(ส.ค. ๑) เลขที่ ๑๗๖ ยื่นฟ้องจ�าเลยที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นเอกชนเจ้าของที่ดิน และองค์การบริหารส่วนต�าบล
ผไทรินทร์ จ�าเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง และจ�าเลยที่ ๔ และที่ ๕ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ว่า
ร่วมกันหลอกลวงโจทก์ทั้งสองในขณะที่โจทก์ทั้งสองน�าที่ดิน ส.ค. ๑ ดังกล่าวขอออกโฉนดที่ดิน โดยให้ลงชื่อใน
บันทึกข้อความ ลงวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๒ แจ้งว่าเป็นการรับรองแนวเขตที่ดินข้างเคียงถนนหรือทางส่วนตัวของ
โจทก์ทั้งสอง ซึ่งความจริงเป็นการลงชื่ออุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะ การหลอกลวงดังกล่าวท�าให้โจทก์
ทั้งสองหลงเชื่อและลงชื่อในบันทึกข้อความอันเป็นการส�าคัญผิดในสาระส�าคัญของนิติกรรม ต่อมา จ�าเลยที่ ๑
และที่ ๒ ได้น�าที่ดินตาม ส.ค. ๑ เลขที่ ๒๐๔ ของตนไปออกโฉนดที่ดินและน�ารังวัดชี้เอาที่ดินของโจทก์ทั้งสอง
ดังกล่าวไปเป็นทางสาธารณะ ขอให้ศาลมีค�าพิพากษาให้นิติกรรมอุทิศที่ดินดังกล่าวให้เป็นทางสาธารณะตก
เป็นโมฆะ ให้เพิกถอนรายการทางสาธารณประโยชน์พิพาทอันเกิดจากนิติกรรมการแสดงเจตนาโดยส�าคัญผิด
ตามบันทึกข้อความ ฉบับลงวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๒ และห้ามจ�าเลยทั้งห้าเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท อันเป็น
ค�าฟ้องที่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาโดยส�าคัญผิดและถูกหลอกลวงเป็นส�าคัญเพื่อให้ที่ดิน
พิพาทกลับมาเป็นของตน ลักษณะตามค�าฟ้องดังกล่าวจึงเป็นการขอให้ศาลรับรองสิทธิครอบครองที่ดินของ
โจทก์ทั้งสอง โดยการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ศาลต้องวินิจฉัยเรื่องสิทธิในทรัพย์สินและความสมบูรณ์ของนิติกรรม
ทางแพ่งอันเป็นไปตามหลักกฎหมายเอกชน ข้อพิพาทในคดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการขอให้ตรวจสอบความ
ชอบด้วยกฎหมายของค�าสั่งทางปกครอง อันจะเข้ากรณีพิพาทตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธี
พิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สิน
ของเอกชนและการเพิกถอนนิติกรรมทางแพ่ง ที่อยู่ในอ�านาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
รวมย่อค�าวินิจฉัยชี้ขาดอ�านาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ
102 พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๖๑