Page 98 - 2553-2561
P. 98
ค�าวินิจฉัยชี้ขาดอ�านาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๓/๒๕๕๓ ศาลจังหวัดพัทยา
ศาลปกครองระยอง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ (มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑))
พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คดีที่เอกชนยื่นฟ้องหน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐและเอกชนด้วยกันว่า โจทก์เป็นผู้จะ
ซื้อห้องชุดจากผู้จะขาย แต่ผู้จะขายไถ่ถอนจ�านองห้องชุดและโอนขายให้แก่จ�าเลยที่ ๕ และจ�าเลยที่ ๕
จดทะเบียนจ�านองห้องชุดไว้กับจ�าเลยที่ ๔ โดยจ�าเลยที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ เป็นเจ้าพนักงานผู้ท�าการจดทะเบียน
ให้ อันเป็นการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับห้องชุดซึ่งยังมิได้มีการจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด
ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ ตกเป็นโมฆะ
และวงเงินจ�านองสูงกว่าเดิม จ�าเลยที่ ๓ จดทะเบียนจ�านองโดยรู้อยู่แล้วว่าขัดต่อกฎหมาย ท�าให้โจทก์และ
ผู้จะซื้อทุกรายเสียหาย ขอให้มีค�าสั่งหรือค�าพิพากษาว่า การจดทะเบียนจ�านองห้องชุดระหว่างจ�าเลยที่ ๔
กับที่ ๕ ตกเป็นโมฆะ และให้เพิกถอนการจดทะเบียนจ�านอง ให้จ�าเลยที่ ๕ คืนหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่
ผู้จะขาย หากเพิกเฉย ขอให้จ�าเลยที่ ๑ ออกหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดฉบับใหม่ให้แก่ผู้จะขาย เห็นว่า แม้โจทก์
จะฟ้องจ�าเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ โดยอ้างว่าเป็นหน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่รับจดทะเบียน นิติกรรมโอนขาย จ�านอง
ทรัพย์ที่พิพาทโดยไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ จึงตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงดังที่
โจทก์อ้าง เป็นเพียงข้ออ้างแห่งข้อหา ซึ่งในเรื่องนี้ ศาลจ�าต้องพิจารณาให้ได้ความว่า การที่ผู้จะขายท�าการไถ่ถอน
จ�านองและจดทะเบียนโอนขายทรัพย์ที่พิพาทให้แก่จ�าเลยที่ ๕ แล้วจ�าเลยที่ ๕ น�าไปจดทะเบียนจ�านองไว้กับ
จ�าเลยที่ ๔ ในวงเงินจ�านองที่สูงขึ้นนั้นเป็นการจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับ
อสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนหรือไม่
แล้วจะมีค�าพิพากษาหรือค�าสั่งอันมีผลให้กรรมสิทธิ์หรือทรัพยสิทธิในทรัพย์พิพาทเปลี่ยนแปลงไประหว่างโจทก์
กับจ�าเลยที่ ๔ และที่ ๕ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกันเอง ดังนั้นข้อพิพาทในคดีนี้จึงอยู่ในอ�านาจพิจารณาพิพากษาของ
ศาลยุติธรรม
รวมย่อค�าวินิจฉัยชี้ขาดอ�านาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ
พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๖๑ 97