Page 363 - 2553-2561
P. 363
ค�าวินิจฉัยชี้ขาดอ�านาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๐/๒๕๕๔ ศาลจังหวัดแม่สอด
ศาลปกครองพิษณุโลก
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ (มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓))
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด พ.ศ. ๒๕๓๙
คดีที่เอกชนยื่นฟ้องส�านักงานต�ารวจแห่งชาติและเจ้าพนักงานต�ารวจในสังกัดว่า จ�าเลยที่ ๒ ซึ่งเป็น
เจ้าพนักงานต�ารวจจับกุมผู้มีชื่อกับพวกในข้อหาร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจ�าหน่าย
พร้อมยึดรถยนต์กระบะที่โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อไว้เป็นของกลาง ต่อมารถยนต์ของกลางดังกล่าวได้หายไปในระหว่าง
ที่ถูกยึด ขอให้จ�าเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันช�าระเงินค่ารถพร้อมดอกเบี้ย เห็นว่า การที่จ�าเลยที่ ๒ ท�าการ
จับกุมผู้กระท�าความผิดพร้อมกับยึดรถยนต์ของโจทก์ เป็นการใช้อ�านาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
อาญา มาตรา ๘๕ ซึ่งในมาตรา ๘๕/๑ ก็ก�าหนดวิธีการไว้ว่า ทรัพย์ที่ถูกยึดไว้ถ้ายังไม่ได้น�าสืบหรือแสดงเป็น
พยานหลักฐานในการพิจารณาคดี เจ้าของหรือผู้ซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของที่เจ้าพนักงานยึดไว้ อาจร้องขอ
ต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการให้คืนทรัพย์ของกลางแก่ตนได้ และในวรรคท้าย หากเจ้าพนักงาน
ดังกล่าวไม่ยอมคืนให้ เจ้าของทรัพย์ชอบที่จะยื่นอุทธรณ์ค�าสั่งของเจ้าพนักงาน “ต่อศาลชั้นต้นที่มีอ�านาจพิจารณา
พิพากษาคดีอาญาดังกล่าวได้” กรณีจึงเป็นข้อพิพาทที่เกิดจากการด�าเนินการตามกระบวนการยุติธรรมทาง
อาญา ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ก�าหนดขั้นตอนและวิธีการไว้อย่างชัดแจ้งแล้ว ทั้งได้ก�าหนด
ให้ศาลชั้นต้นที่มีอ�านาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญา ในเรื่องนั้น ๆ เป็นศาลที่มีเขตอ�านาจด้วย จึงเป็นคดีพิพาท
ที่เกี่ยวกับการกระท�าละเมิดของเจ้าหน้าที่อันเนื่องจากการใช้อ�านาจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา อยู่ใน
อ�านาจของศาลยุติธรรม
รวมย่อค�าวินิจฉัยชี้ขาดอ�านาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ
362 พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๖๑