Page 29 - คู่มือปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุตจริตฯ
P. 29

คู่มือการปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
                                                                                                        | 18



                                         อนุญาตให้คู่ความคัดถ่ายรายงานกระบวนพิจารณาโดยพิมพ์จาก

                     คอมพิวเตอร์และไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่วนเอกสารที่ยื่นต่อศาลในวันนี้อนุญาตให้คัดถ่ายได้ โดย


                     เสียค่าใช้จ่ายตามระเบียบ”

                                      ข้อสังเกต

                                      1. รายงานกระบวนพิจารณาฉบับนี้เป็นเพียงตัวอย่างการให้เหตุผลกรณีที่

                     ศาลเห็นสมควรให้ไต่สวนมูลฟ้องกรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่ว่าจะเป็น

                     ความผิดฐานเดียวหรือความผิดหลายฐาน เนื่องจากอาจมีเฉพาะในบางประเด็นหรือความผิด

                     บางฐานพนักงานอัยการเห็นว่ารายงาน เอกสาร และความเห็นที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งให้

                     ยังไม่สมบูรณ์พอที่จะด าเนินคดี และไม่อาจหาข้อยุติเกี่ยวกับการด าเนินคดีได้ (พ.ร.ป. ป.ป.ช.


                     มาตรา ๗๗, ๘๐, ๙๓) ศาลจะไต่สวนมูลฟ้องเฉพาะประเด็นหรือฐานความผิดที่ไม่สมบูรณ์

                     ดังกล่าว กรณีจึงไม่จ าต้องมีนัดตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐานโดยเจ้าพนักงานคดี แต่ให้

                     นัดไต่สวนมูลฟ้องไปเสียทีเดียว

                                            หมายเหตุ

                                            เนื่องจากส านวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยทั่วไปแล้ว

                     จะมีการบรรยายฟ้องและเอกสารประกอบฟ้องค่อนข้างครบถ้วนและสมบูรณ์ กระบวนการ

                     ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องตามกรณีตัวอย่างรายงานกระบวนพิจารณาข้างต้น จึงนัดไต่สวนมูลฟ้อง


                     ห่างจากวันฟ้องเพียง 1 เดือน และกรณีเห็นควรไม่จ าต้องมีการนัดตรวจสอบและรวบรวม

                     พยานหลักฐานโดยเจ้าพนักงานคดี

                                            ทางปฏิบัติส่วนใหญ่แล้วคดีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ฟ้อง

                     ศาลจะไม่นัดไต่สวนมูลฟ้อง แต่จะมีค าสั่งประทับฟ้อง เนื่องจากสิทธิของจ าเลยที่ได้รับ

                     ผลกระทบจากการไต่สวนมูลฟ้องกับการประทับฟ้องไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก ประกอบกับ


                     การสั่งประทับฟ้องย่อมเป็นการเปิดโอกาสให้แก่จ าเลยในการต่อสู้คดีได้มากกว่า และให้ศาลใช้

                     ดุลพินิจในการพิจารณาพิพากษาคดีได้อย่างเต็มที่เสร็จไปในคราวเดียวอย่างมีประสิทธิภาพ

                                      2. ศาลจะสั่งขังจ าเลยไว้หรือปล่อยชั่วคราวก็ได้ (ตาม พ.ร.บ. วิ. ทุจริตฯ

                     มาตรา ๑๗ วรรคสี่)

                                      ๓. คดีที่อัยการสูงสุด พนักงานอัยการ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. หรือ


                     คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ ตาม พ.ร.บ. วิ. ทุจริตฯ มาตรา ๑๕ วรรคสอง ก าหนดให้โจทก์ส่ง
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34