Page 74 - คู่มือปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุตจริตฯ
P. 74
คู่มือการปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
| 63
๗. การพิพากษา
พ.ร.บ. วิ. ทุจริตฯ ไม่ได้ก าหนดรูปแบบและเนื้อหาของค าพิพากษารวมทั้งระยะเวลา
ในการอ่านค าพิพากษาคดีไว้ จึงต้องน า ป.วิ.อ. มาตรา 182 และมาตรา ๑๘๖ มาใช้บังคับ
ข้อสังเกต
๑. จ าเลยในคดีทุจริตฯ ซึ่งใช้ระบบการพิจารณาคดีแบบไต่สวนยังคงได้รับการ
สันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะพิพากษาว่าจ าเลยกระท าความผิด โดยใช้มาตรฐาน
การพิสูจน์ว่าต้องรับฟังพยานหลักฐานให้ได้ความจนปราศจากข้อสงสัยว่าจ าเลยได้กระท า
ความผิดจริงจึงพิพากษาลงโทษจ าเลยได้ (proof beyond reasonable doubt) ทั้งนี้
หากพยานหลักฐานของคู่ความที่น าสืบต่อศาล รวมทั้งพยานหลักฐานที่ศาลใช้อ านาจเรียกมานั้น
ยังไม่เป็นที่พอใจหรือยังมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจ าเลยกระท าผิดตามฟ้อง มีปัญหาว่า
ศาลสามารถพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จ าเลยตาม ป.วิ.อ.
มาตรา 227 วรรคสอง ได้หรือไม่ ยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่
ความเห็นที่หนึ่ง เห็นว่า ระบบการพิจารณาคดีในระบบไต่สวน ศาลมีบทบาท
หน้าที่ในการค้นหาความจริงในคดี และมีอ านาจแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจนเป็นที่ยุติหรือ
สิ้นสงสัยแล้วจึงพิจารณาพิพากษาคดีโดยจะไม่มีการยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จ าเลย
เหมือนใน ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง
ความเห็นที่สอง เห็นว่า ป.วิ.อ. มาตรา 227 ก าหนดมาตรฐานการพิสูจน์ไว้ว่า
เมื่อศาลชั่งน้ าหนักพยานหลักฐานทั้งปวงแล้ว มีเหตุอันควรสงสัยว่าจ าเลยไม่ได้กระท าความผิด
ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จ าเลย ซึ่งสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานที่ให้
สันนิษฐานไว้ก่อนว่า จ าเลยเป็นผู้บริสุทธิ์อันเป็นหลักนิติธรรมที่ใช้กับคดีอาญาทุกประเภท
ไม่ว่าจะใช้ระบบกล่าวหาหรือระบบไต่สวนก็ตาม ส่วน พ.ร.บ. วิ. ทุจริตฯ มาตรา 6 บัญญัติให้
น าระบบไต่สวนตามที่ก าหนดใน พ.ร.บ. และข้อบังคับของประธานศาลฎีกาฯ มาใช้กับคดีทุจริตฯ
ในกรณีที่ พ.ร.บ. หรือข้อบังคับของประธานศาลฎีกาฯ ไม่ได้ก าหนดเรื่องใดไว้โดยเฉพาะก็ให้น า
ป.วิ.อ. มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ ดังนั้น เมื่อตาม พ.ร.บ.