Page 71 - คู่มือปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุตจริตฯ
P. 71
คู่มือการปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
| 60
5.2 พยานบุคคลและการจ่ายค่าตอบแทนพยาน
การจัดล าดับการสืบพยานที่โจทก์และจ าเลยเสนอเป็นดุลพินิจของศาลที่จะ
พิจารณาตามที่เห็นสมควร (ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาฯ ข้อ ๑๘) และให้จ่ายค่าป่วยการฯ
แก่พยานโจทก์ พยานจ าเลย หรือพยานศาล รวมถึงบุคคลซึ่งมาให้ถ้อยค า ตามระเบียบ
คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยการจ่ายค่าพาหนะ ค่าป่วยการ และค่าเช่าที่พัก
แก่พยานซึ่งมาศาลตามหมายเรียกในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๖๑ หรือระเบียบคณะกรรมการบริหาร
ศาลยุติธรรมว่าด้วย การจ่ายค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พัก และค่าใช้จ่ายแก่
พยานบุคคลที่ศาลเรียกมา บุคคลซึ่งมาให้ถ้อยค า บุคคลหรือคณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้
ปฏิบัติหน้าที่ และผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในคดีทุจริตฯ พ.ศ. ๒๕๖๑ แล้วแต่กรณี
ข้อสังเกต
1. พยานศาล คือ พยานที่โจทก์หรือจ าเลยไม่ได้มีค าขอไว้ในบัญชีระบุพยาน แต่
เป็นพยานที่ศาลเห็นสมควรเรียกมาเอง
๒. ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องให้ใช้ชื่อนัดว่า “นัดไต่สวนมูลฟ้อง” ส่วนในชั้นพิจารณาให้
ใช้ชื่อนัดว่า “นัดสืบพยานโจทก์” หรือ “นัดสืบพยานจ าเลย” หรือ “นัดสืบพยานโจทก์ประกอบ
ค ารับสารภาพ” ส าหรับในค าพิพากษาให้ใช้ค าว่า “พยานโจทก์” หรือ “พยานจ าเลย” (อุทธรณ์
แดงที่ ๖๗๑๗/๒๕๖๑ ระหว่างอัยการสูงสุด โจทก์ นางวิจิตต์ จ าเลย และแนวปฏิบัติของศาลอาญา
คดีทุจริตฯ กลาง)
หมายเหตุ
ระบบไต่สวนเป็นเพียงการให้อ านาจศาลในการค้นหาความจริง แต่หลักการอื่น
ยังคงเหมือนเดิม เช่น ฐานะของพยานยังคงเป็น “พยานโจทก์” หรือ “พยานจ าเลย” เว้นแต่
พยานที่ศาลเห็นสมควรเรียกมาเองถือเป็น “พยานศาล” ส่วนวันนัดยังคงเป็น “นัดไต่สวนมูลฟ้อง”
หรือ “นัดสืบพยานโจทก์” หรือ “นัดสืบพยานจ าเลย” เช่นเดิม ไม่ควรใช้ชื่อนัดว่า “นัดไต่สวน”
โดยยึดโยงกับชื่อระบบและวิธีการไต่สวน ซึ่งนอกจากจะไม่สอดรับกับเหตุผลข้างต้นแล้ว
ยังขัดต่อ พ.ร.บ. วิ. ทุจริตฯ ที่ชั้นพิจารณาใช้ค าว่า “สืบพยาน” ทั้งยังอาจสร้างความสับสน
แก่ระบบธุรการของศาลอาญาคดีทุจริตฯ รวมถึงส านักงานศาลยุติธรรมในภาพรวมในการ
จัดเก็บ บันทึกหรือรวบรวมข้อมูล ตลอดจนการติดตามหรือประมวลผลได้