Page 66 - คู่มือปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุตจริตฯ
P. 66
คู่มือการปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
| 55
ศาลเห็นสมควร แล้วจึงให้คู่ความถามเพิ่มเติมในประเด็นอื่นหรือในประเด็นที่พยานยังเบิกความ
ตอบค าถามศาลไม่สมบูรณ์เท่านั้น
ข้อสังเกต
การเสนอค าถามใช้เป็นครั้งแรกในคดียุบพรรคไทยรักไทย ต่อมาศาลฎีกาแผนก
คดีอาญาของผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมืองได้ใช้แนวทางดังกล่าวในการพิจารณาพิพากษาคดี
เรื่อยมา แม้กฎหมายจะไม่มีการกล่าวถึงเรื่องการเสนอค าถามไว้ แต่ก็เป็นอ านาจโดยทั่วไปของ
ศาลฎีกาที่พิจารณาสั่งได้ ซึ่งแนวทางข้างต้นศาลอาญาคดีทุจริตฯ กลางได้น ามาปรับใช้เช่นกัน
คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ หรือคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายแก้ต่างเข้ามาในคดี
ให้พนักงานอัยการเสนอค าถามทุกคดี ส่วนลักษณะของค าถามจะกว้างหรือแคบให้เป็นดุลพินิจ
ของพนักงานอัยการพิจารณาตามที่เห็นสมควร และเป็นบทบาทหน้าที่ของศาลในการใช้ดุลพินิจ
ว่าจะอนุญาตให้คู่ความถามหรือไม่ ซึ่งควรยืดหยุ่น ไม่ควรเคร่งครัดมากจนเกินไป
หมายเหตุ
ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเห็นชอบร่างข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการ
ด าเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ แล้ว โดยมีสาระส าคัญประการ
หนึ่งว่า ในกรณีที่ศาลเห็นสมควร หรือในกรณีที่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานนั้นร้องขอและศาล
อนุญาต ศาลอาจก าหนดให้พยานบุคคลคนใดที่ต้องมาเบิกความ เสนอบันทึกถ้อยค ายืนยัน
ข้อเท็จจริงหรือความเห็นต่อศาลได้
4.๔ การก าหนดค าถามพยาน
4.4.1 ค าถามที่ศาลเห็นสมควรถามเอง
ศาลจะถามตามประเด็นหรือข้อเท็จจริงที่ก าหนดให้ท าการสืบพยานแต่ละปาก
โดยเป็นค าถามที่ศาลเห็นสมควรถามเอง และค าถามที่พิจารณาเลือกมาจากที่คู่ความเสนอเป็น
ประเด็นค าถาม โดยค าถามที่คู่ความเสนอเป็นประเด็นค าถามนั้น มีแนวทางพิจารณาดังนี้
(1) เป็นค าถามที่คู่ความเสนอประเด็นค าถามต่อศาลภายในเวลาที่ศาล
ก าหนด และ