Page 61 - คู่มือปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุตจริตฯ
P. 61
คู่มือการปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
| 50
4. การตรวจพยานหลักฐาน
4.1 การด าเนินการของเจ้าพนักงานคดีก่อนวันนัดตรวจพยานหลักฐาน
ก่อนวันนัดตรวจพยานหลักฐาน ศาลอาจมอบหมายให้เจ้าพนักงานคดีตรวจ
ส านวนคดี รวมทั้งส านวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน หรือส านวนการไต่สวนของ
คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือคณะกรรมการ ป.ป.ท. แล้วจัดท าสรุปย่อการกระท าความผิดของ
จ าเลยตามฟ้อง รวมทั้งพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่ปรากฏในส านวนดังกล่าว โดยศาลอาจ
ก าหนดให้มีนัดตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐานโดยเจ้าพนักงานคดี รวม 2 - ๓ นัด
และให้เจ้าพนักงานคดีรายงานผลการด าเนินการในแต่ละนัดต่อศาลเพื่อทราบหรือพิจารณา
ตามแบบรายงานฯ ภาคผนวก ๑3
เมื่อการตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐานเสร็จสิ้น ให้เจ้าพนักงานคดีจัดท า
สรุปรายการพยานหลักฐาน โดยระบุพยานหลักฐานที่คู่ความไม่โต้แย้งกันเพื่อความสะดวก
ในการที่ศาลจะสอบถามคู่ความ และให้คู่ความรับข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานนั้นโดยไม่ต้อง
สืบพยาน รวมทั้งสรุปรายละเอียดประเด็นแห่งคดีที่คู่ความยังโต้แย้งกัน จ านวนพยาน
ความเกี่ยวข้องกับประเด็น ความจ าเป็นที่ต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าว รวมทั้งจัดเตรียม
พยานหลักฐานดังกล่าวก่อนหลังตามที่คู่ความประสงค์จะน าสืบ ค้นคว้าข้อกฎหมาย
และค าพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้องรวมไว้ในส านวน ตามแบบรายงานฯ ภาคผนวก 14 – 17
4.2 การก าหนดประเด็น พยาน และระยะเวลาในการสืบพยาน
การพิจารณาคดีในระบบไต่สวน ผู้พิพากษาเป็นผู้มีบทบาทควบคุมการด าเนิน
กระบวนพิจารณา การก าหนดประเด็น พยานบุคคล และค าถามที่ใช้ในการถามพยาน จึงจ าเป็น
ที่ผู้พิพากษาเจ้าของส านวนต้องตรวจสอบและศึกษาข้อเท็จจริง ประเด็นแห่งคดีจากส านวน
เอกสาร รายงานและส านวนคดีล่วงหน้าโดยละเอียด
ในการตรวจพยานหลักฐาน ก่อนวันนัดตรวจพยานหลักฐานศาลควรมีเวลาไม่น้อยกว่า
15 วัน เพื่อพิจารณาส านวนและรายงานเจ้าพนักงานคดีแล้วจึงก าหนดประเด็น พยาน และ