Page 64 - คู่มือปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุตจริตฯ
P. 64

คู่มือการปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
                                                                                                        | 53



                     ทั้งหมด เมื่อพิจารณารายงานสรุปผลการตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐานโดยเจ้าพนักงาน

                     คดีประกอบด้วยแล้ว ย่อมมีข้อมูลเกี่ยวกับพยานหลักฐาน ประเด็นและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง

                     ความจ าเป็นในการอ้างพยานหลักฐานและวิธีการได้มาซึ่งพยานหลักฐาน แนวทางการเสนอ

                     พยานหลักฐาน รวมทั้งข้อโต้แย้งพยานหลักฐานของคู่ความก่อนวันนัดตรวจพยานหลักฐานของ

                     คู่ความทั้งสองฝ่าย ส าหรับคดีที่อัยการสูงสุด พนักงานอัยการ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. หรือ


                     คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นโจทก์นั้น พยานที่ฝ่ายโจทก์อ้างล้วนเป็นพยานที่เคยให้การต่อ

                     คณะกรรมการ ป.ป.ช. คณะกรรมการ ป.ป.ท. หรือพนักงานสอบสวนแล้วทั้งสิ้น ยกเว้นพยาน

                     ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือคณะกรรมการ ป.ป.ท. หรือพนักงานสอบสวน

                     ซึ่งโดยมากจะร่วมเป็นอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง หรือเป็นพนักงานสอบสวนที่ท าการ

                     สอบสวนพยานมา ส่วนฝ่ายจ าเลยในคดีที่มีการไต่สวนข้อเท็จจริงโดยคณะกรรมการ ป.ป.ช.


                     หรือคณะกรรมการ ป.ป.ท. พยานอื่น ๆ มักไม่ค่อยมีหรือมีแต่น้อยมากเช่นกัน เพราะเหตุว่า

                     ในชั้นไต่สวนค าร้องของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือคณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้เปิดโอกาสให้

                     จ าเลยชี้แจงข้อกล่าวหารวมทั้งน าพยานหลักฐานมาแสดงประกอบการชี้แจงแล้วแต่จ าเลยไม่มี

                     พยานหลักฐานในชั้นดังกล่าว การจะก าหนดให้พยานจ าเลยปากใดเข้าสืบ จึงต้องพิจารณาว่า

                     จ าเลยโต้แย้งพยานหลักฐานของโจทก์ในข้อใดบ้างประกอบ ก็จะสามารถก าหนดตัวพยานบุคคล

                     ที่จะให้เข้าสืบพยานได้

                                ในการก าหนดจ านวนพยานบุคคล ศาลต้องพิจารณาว่ามีพยานที่รู้เห็นและ


                     เคยให้การไว้ในประเด็นเดียวกันหรืออยู่กลุ่มเดียวกันหรือไม่ หากมีพยานที่รู้เห็นและเคยให้การ

                     ไว้ในประเด็นเดียวกันหรืออยู่กลุ่มเดียวกัน ควรก าหนดเลือกพยานมาสืบเพียง ๑ หรือ ๒ ปาก

                     (หากสืบพยานแล้วศาลเห็นว่าไม่เพียงพออาจเรียกพยานอื่นมาสืบเพิ่มในภายหลังได้) ส าหรับตัว

                     จ าเลยซึ่งเคยให้การไว้ในชั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช. คณะกรรมการ ป.ป.ท. หรือพนักงาน

                     สอบสวนแล้ว ควรก าหนดให้จ าเลยเข้าเบิกความเพิ่มเติมด้วย โดยเข้าเบิกความภายหลังจากที่


                     ศาลท าการสืบพยานของโจทก์ เพื่อให้โอกาสแก่จ าเลยได้ให้การแก้ไข เพิ่มเติมหรือ

                     สรุปข้อเท็จจริง (ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาฯ ข้อ ๑8)
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69