Page 62 - คู่มือปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุตจริตฯ
P. 62
คู่มือการปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
| 51
ระยะเวลาในการสืบพยาน หากเป็นพยานหลักฐานที่มีอยู่ในรายงานและส านวนคดีของ
คณะกรรมการ ป.ป.ช. คณะกรรมการ ป.ป.ท. หรือพนักงานสอบสวน ให้ระบุถึงการมีอยู่ไว้ด้วย
เช่น พยานบุคคลที่จะน าเข้าสืบเคยให้การไว้ในชั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามเอกสารแฟ้มใด
หมายเป็นเอกสารใดไว้ แล้วจัดท าร่างรายงานกระบวนพิจารณาเบื้องต้น โดยระบุรายละเอียด
ต่าง ๆ ดังกล่าวไว้ เพื่อแจ้งให้คู่ความทราบค าสั่งศาลในวันนัดตรวจพยานหลักฐาน คงเว้นไว้แต่
ข้อมูลเพียงบางส่วน เช่น วันนัดสืบพยานที่ต้องร่วมกันก าหนดนัดกับคู่ความ
4.2.1 การก าหนดประเด็นในการสืบพยาน
ในคดีที่อัยการสูงสุด พนักงานอัยการ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. หรือคณะกรรมการ
ป.ป.ช. เป็นโจทก์ หากพยานหลักฐานที่คู่ความเสนอต่อศาลเพื่อท าการสืบพยานนั้น ได้มีการ
ไต่สวนข้อเท็จจริงหรือสอบสวนไว้ในชั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช. คณะกรรมการ ป.ป.ท. หรือ
พนักงานสอบสวนแล้ว และไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งพยานหลักฐาน หรือโต้แย้งแต่ไม่มีเหตุ
แห่งการโต้แย้งชัดแจ้ง ศาลจะมีค าสั่งให้รับฟังพยานหลักฐานนั้นโดยไม่ต้องสืบพยานก็ได้หรือ
หากมีการโต้แย้งพยานหลักฐานใดไม่ว่าทั้งหมดหรือเฉพาะประเด็นบางส่วน ศาลจะสืบพยาน
เฉพาะประเด็นที่โต้แย้ง เพราะถือว่าประเด็นหรือข้อเท็จจริงที่ไม่โต้แย้งนั้นมีอยู่ในรายงานและ
ส านวนคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือคณะกรรมการ ป.ป.ท. หรือพนักงานสอบสวน ที่ศาลต้อง
น ามาเป็นหลักในการแสวงหาข้อเท็จจริงอยู่แล้ว (ตาม พ.ร.บ. วิ. ทุจริตฯ มาตรา ๒๑ วรรคสอง
และมาตรา ๒๒)
เมื่อมีการโต้แย้งพยานหลักฐานหรือข้อเท็จจริงใด ศาลต้องก าหนดเป็นประเด็น
ในการสืบพยาน ในส่วนของพยานที่ให้การไว้หลายประเด็น แต่มีการโต้แย้งเพียงบางประเด็น
เท่านั้น การก าหนดประเด็นก็จะก าหนดเฉพาะประเด็นที่โต้แย้งและเมื่อมีการสืบพยานศาลก็จะ
คัดเลือกค าถามพยานเฉพาะประเด็นที่โต้แย้งเท่านั้นเช่นกัน เพราะในส่วนประเด็นอื่น ๆ ที่ไม่ได้
โต้แย้งไว้ย่อมรับฟังได้แล้ว (ในกรณีนี้ศาลจะออกหมายเรียกโดยระบุประเด็นที่จะท าการ
สืบพยานไว้ในหมายเรียกนั้น ๆ ด้วย เพื่อให้พยานทราบและเตรียมข้อเท็จจริงไว้ตอบค าถาม
ล่วงหน้า) และหากคู่ความถามถึงประเด็นที่รับฟังได้แล้ว ศาลก็ไม่ควรอนุญาตให้ถาม
นอกประเด็นด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่จะกล่าวในหัวข้อถัดไป