Page 70 - คู่มือปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุตจริตฯ
P. 70

คู่มือการปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
                                                                                                        | 59



                     ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับที่พยานเบิกความมาแล้ว หรือไม่ใช่ค าถามที่ได้เสนอไว้ก่อนตามค าสั่งศาลให้

                     อยู่ในดุลพินิจของศาลว่าจะอนุญาตหรือไม่ โดยค านึงถึงหลักการค้นหาความจริงและหลักความเป็น

                     ธรรมเป็นส าคัญ


                                ข้อสังเกต

                                ๑. คดีที่อัยการสูงสุด พนักงานอัยการ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. และคณะกรรมการ

                     ป.ป.ช. เป็นโจทก์ เมื่อพยานเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงที่เคยให้การไว้ในชั้นสอบสวนหรือไต่สวน

                     แล้ว ก็ไม่จ าต้องให้พยานเบิกความในรายละเอียดนับแต่เริ่มต้นเหมือนดังเช่นคดีอาญาในระบบ

                     กล่าวหาอีก ให้ศาลหรือคู่ความถามเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องหรือตามข้อโต้แย้งของแต่ละฝ่าย

                     ส่วนการถาม ศาลและคู่ความทุกฝ่ายสามารถใช้ค าถามน าได้


                                ๒. เมื่อน าระบบไต่สวนมาใช้ และกฎหมายก าหนดให้ศาลมีบทบาทมากขึ้นในการ

                     ค้นหาความจริงแล้ว โจทก์ยังคงมีภาระการพิสูจน์อยู่หรือไม่ เห็นว่า โดยหลักการพื้นฐานของระบบ

                     พิจารณาความ ผู้ใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงใด ผู้นั้นมีหน้าที่น าพยานหลักฐานเข้ามาสืบให้ปรากฏ

                     ข้อเท็จจริงเป็นเช่นนั้น และเมื่อโจทก์กล่าวหาว่าจ าเลยกระท าความผิด โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องน า

                     พยานหลักฐานมาสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริงตามที่ตนกล่าวอ้าง ดังนั้น ถึงแม้ศาลจะมีบทบาท


                     ในการค้นหาความจริง โดยการค้นหาจากพยานหลักฐานของคู่ความรวมทั้งที่ศาลเรียกมาเอง

                     ก็ตาม ก็ไม่ท าให้โจทก์หมดภาระในการน าพยานหลักฐานของตนมาแสดงต่อศาลแต่อย่างใด

                     นอกจากนี้เมื่อ พ.ร.บ. วิ. ทุจริตฯ ไม่ได้ก าหนดมาตรฐานการพิสูจน์ไว้ เป็นการเฉพาะให้แตกต่าง

                     จากคดีอาญาทั่วไป ก็ต้องน ามาตรฐานการพิสูจน์ในคดีอาญาทั่วไปมาใช้กับคดีทุจริตฯ กล่าวคือ

                     ศาลจะพิพากษาลงโทษจ าเลยไม่ได้ จนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระท าความผิดจริงและจ าเลยเป็น


                     ผู้กระท าความผิดนั้น

                                ๓. การบันทึกค าเบิกความสามารถท าได้หลายรูปแบบ ซึ่งตามตัวอย่างที่หยิบยก

                     เป็นลักษณะหนึ่งของการบันทึกค าเบิกความที่จะปรากฏข้อเท็จจริงในรูปแบบที่ง่ายต่อการอ่าน

                     เพื่อจับประเด็น เพราะจะแยกประเด็นข้อเท็จจริงไว้เป็นเรื่อง ๆ รวมถึงประเด็นค าถามเรื่องใด

                     มีการเบิกความแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ก็สามารถตรวจสอบได้โดยง่าย ตาม ภาคผนวก 22
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75