Page 10 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๒-๒๕๖๑-กฎหมาย
P. 10
โดย วิภานันท์ ประสมปลื้ม จึงนำาแง่คิดและมุมมองต่างๆ ในการตีความปัญหาความ
สงบเรียบร้อยในการบังคับตามคำาชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมานำาเสนอทั้งในแง่ธุรกิจ
และกฎหมาย
ในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาโตตุลาการในคดีปกครองนั้น ดร. บุญอนันต์ วรรณพาณิชย์
ได้นำาหลักการของกฎหมายปกครองของฝรั่งเศสมานำาเสนอรวมถึงวิเคราะห์การปรับใช้
กับคดีอนุญาโตตุลาการในประเทศไทย กับบทความเรื่อง หลัก “รัฐไม่ต้องจ่ายในสิ่งที่รัฐ
ไม่ได้เป็นหนี้” : ความหมาย และข้อจำากัดในการนำามาปรับใช้ในคดีปกครองเกี่ยวกับการ
อนุญาโตตุลาการ”
และเนื่องจากสำานักงานศาลยุติธรรม มีภารกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนการระงับ
ข้อพิพาทด้วยการอนุญาโตตุลาการโดยมีการก่อตั้งสถาบันอนุญาโตตุลาการขึ้นเพื่อบริการ
การระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ เพื่อให้กระบวนพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ
มีความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ดร. พรภัทร์ ตันติกุลานันท์ จึงขอนำาเสนอบทความเรื่อง
“อดีต ปัจจุบัน อนาคต ... สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำานักงานศาลยุติธรรม” ในยุคที่เทคโนโลยี
มีบทบาทอย่างมากในการพัฒนางานของสถาบันอนุญาโตตุลาการ
สำาหรับบทความอื่นๆ ในเล่มตลอดจนคอลัมน์ประจำานั้นรับประกันได้ว่ามีความ
น่าสนใจไม่น้อยไปกว่าบทความด้านอนุญาโตตุลาการ เริ่มต้นด้วยบทความ “ความรู้เบื้องต้น
เกี่ยวกับระบบกฎหมายล้มละลายของประเทศสิงคโปร์” ของท่านกนก จุลมนต์ นำาเสนอข้อมูล
เกี่ยวกับระบบกฎหมายล้มละลายของสิงคโปร์ ทั้งการวิเคราะห์กฎหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบัน
และทิศทางในอนาคตซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ของผู้สนใจมุมมองเชิงเปรียบเทียบของกฎหมาย
ล้มละลายเป็นอย่างยิ่ง บทความ “ธารกำานัลในประมวลกฎหมายอาญา” ของท่านนันทัช
กิจรานันทน์ นำาเสนอว่า คำาว่า “ธารกำานัล” ซึ่งเป็นถ้อยคำาธรรมดาและมีใช้ในหลายมาตราของ
ประมวลกฎหมายอาญานั้น ยังมีความเห็นเกี่ยวกับความหมายของถ้อยคำาดังกล่าวที่แตกต่างกัน
อันอาจเป็นปัญหาทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ บทความเรื่อง “ความผิดฐานค้ามนุษย์ :
ลักษณะความผิดและปัญหาความสอดคล้องกับพิธีสารเพื่อป้องกัน ปราบปรามและลงโทษ
การค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก เพิ่มเติมอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรม
ข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร” ของท่านสิทธิพงศ์ ตัญญพงศ์ปรัชญ์ นำาเสนอสภาพปัญหา
ที่เกิดขึ้นจากบทบัญญัติและการใช้การตีความกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
ของไทยที่ยกร่างขึ้นจากกรอบกฎหมายอันเป็นพันธกรณีระหว่างประเทศ แต่มีการขยายขอบเขต