Page 11 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๒-๒๕๖๑-กฎหมาย
P. 11
ความรับผิดที่กว้างขวาง ซึ่งนอกจากจะไม่สอดคล้องกับกฎหมายที่นำามาเป็นต้นแบบแล้ว
ยังเกิดปัญหาในการปฏิบัติอีกด้วย
น้ํา
ในส่วนฎีกาที่น่าสนใจ ท่านเผ่าพันธ์ ชอบนำาตาล รวบรวมคำาพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ
เกี่ยวกับการฟ้องและดำาเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ย้อนหลังไปตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ ถึง
๒๕๖๑ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้ปฏิบัติงานที่จะทราบแนวทางการใช้และตีความ
กฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไป สัมผัสคดีดังต่างประเทศ ฉบับนี้พาท่านผู้อ่านไปท่องยุโรปเพื่อศึกษา
แนวทางของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปในคดี Sejdovic v Italy (2006) ที่วินิจฉัยความชอบ
ด้วยกฎหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอิตาลีที่อนุญาตให้มีการพิจารณา
ลับหลังจำาเลย ส่วนบทแนะนำาหนังสือ จะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักกับหนังสือ “Rebooting
Justice : More Technology, Fewer Lawyers, And The Future of Law” ที่ตั้งคำาถาม
ต่อแนวทางการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนด้วยการมุ่งจัดหาทนายความให้
และนำาเสนอว่าทางออกของการแก้ปัญหาการเข้าถึงความยุติธรรม (Access to Justice) คือ
การใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้น และให้ประชาชนดำาเนินคดีได้ด้วยตนเองโดยพึ่งพาทนายความ
ให้น้อยลง สุดท้ายของเล่มนี้คือภาษาอังกฤษกฎหมาย ท่านสรวิศ ลิมปรังษี นำาเสนอเรื่อง
ปัญญาประดิษฐ์กับความรับผิดทางกฎหมายต่อเนื่องจากดุลพาห เล่มที่แล้ว ที่นอกจากจะได้
เรียนรู้ศัพท์เกี่ยวกับความรับผิดเนื่องจากผลิตภัณฑ์ (product liability) แล้วยังได้เกร็ดความรู้
เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วอีกด้วย
บรรณาธิการต้องกราบขออภัยท่านผู้อ่านสำาหรับความล่าช้าในการจัดพิมพ์ดุลพาห
ปี ๒๕๖๑ และขอน้อมรับความผิดพลาดนี้เป็นบทเรียนเพื่อแก้ไข กับขอให้คำามั่นว่าดุลพาห
ฉบับสุดท้ายของปี ๒๕๖๑ และฉบับแรกของปี ๒๕๖๒ จะถึงมือท่านผู้อ่านก่อนปลายเดือน
เมษายน ๒๕๖๒ นี้อย่างแน่นอน โดยสำาหรับเล่มแรกของปี ๒๕๖๒ จะนำาเสนอบทความ
ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนศาลยุติธรรมไปสู่การเป็นศาลดิจิทัลในปี ๒๕๖๓ ตามคำาขวัญ
COJ Digital Transformation… D-Court ๒๐๒๐ โปรดคอยติดตาม
บรรณาธิการ