Page 8 - นิตยสารดุลพาห เล่มที่ ๒-๒๕๖๑-กฎหมาย
P. 8
ตามสัญญาที่ให้ไว้กับท่านผู้อ่านในดุลพาหฉบับที่แล้ว ดุลพาหฉบับนี้มีบทความ
ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ ด้วยเหตุนี้บรรณาธิการจึงขอ
ความกรุณา ดร. พรภัทร์ ตันติกุลานันท์ ผู้อำานวยการบริหาร สถาบันอนุญาโตตุลาการมาเป็น
ผู้แนะนำาบทความที่เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการแก่ท่านผู้อ่าน ก่อนบรรณาธิการจะรับหน้าที่
แนะนำาในส่วนที่เหลือต่อไป
การระงับข้อพิพาทโดยการอนุญาโตตุลาการ เป็นหนึ่งในการระงับข้อพิพาท
ทางเลือก (Alternative Dispute Resolution : ADR) ที่คู่สัญญาสามารถตกลงกันแต่งตั้ง
ให้บุคคลที่สามเรียกว่า “อนุญาโตตุลาการ” เพื่อตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้น นอกจากนี้
คู่สัญญาก็ยังสามารถร่วมกันกำาหนดวิธีการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ กระบวนการ
การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ ภาษาที่ใช้ในการดำาเนินกระบวนพิจารณา รวมถึงวิธีการสืบพยาน
ได้อีกด้วย ทำาให้การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการเป็นที่นิยมในการใช้เป็นกระบวนการ
ระงับข้อพิพาทในสัญญาทางการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ
นอกจากนี้ อนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและบังคับตามคำาชี้ขาดของอนุญาโต
ตุลาการต่างประเทศ ค.ศ. ๑๙๕๘ (Convention on the Recognition and Enforcement
of Foreign Arbitral Awards) หรืออนุสัญญากรุงนิวยอร์ก ยังได้บัญญัติถึงผลของคำาชี้ขาด
ของอนุญาโตตุลาการว่าเป็นที่สุดและมีผลผูกพันคู่สัญญาให้ต้องปฏิบัติตาม ทำาให้คำาชี้ขาด
สามารถนำาไปขอให้รัฐภาคีของอนุสัญญากรุงนิวยอร์กบังคับตามคำาชี้ขาดให้ ซึ่งปัจจุบัน
มีอยู่ ๑๔๙ รัฐ รวมถึงประเทศไทยด้วย ศาลไทยจึงมีบทบาทสำาคัญในการพิจารณายอมรับ
และบังคับตามคำาชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศภายใต้อนุสัญญาดังกล่าวและ
พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ ดุลพาหฉบับนี้จึงกำาหนดแนวของเล่มเป็นเรื่องของ
“การระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ”
บทความแรกเป็นเรื่อง “THE EUROPEAN INVESTMENT COURT SYSTEM :
A FALSE GOOD IDEA?” โดย Vanina Sucharitkul ซึ่งจะพูดถึงภูมิหลังในการก่อตั้งระบบศาล
การลงทุนของสหภาพยุโรป โครงสร้างและกลไกของศาลการลงทุน รวมถึงการวิเคราะห์
ข้อได้เปรียบเสียเปรียบในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับระบบศาลนี้