Page 15 - สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)
P. 15

(๑) หน้าท่ีของสถาบันการเมืองการปกครอง
● ให้หลักประกันในเรื่องสิทธิและเสรีภาพของสมาชิกในสังคม เพื่อคุ้มครอง สมาชิกให้ปลอดภัย สามารถดําารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
● ป้องกันและระงับข้อพิพาท สร้างความยุติธรรมระหว่างสมาชิก โดยบังคับใช้ กฎหมายในการตัดสินกรณีพิพาทต่าง ๆ
● รักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยของสังคม โดยการบัญญัติกฎหมาย ข้ึนใช้ และควบคุมให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย
● ปอ้ งกนั สมาชกิ ไมใ่ หถ้ กู รกุ รานจากภายนอก โดยสรา้ งความรว่ มมอื กบั สงั คมอน่ื และความร่วมมือระหว่างประเทศ
(๒) บทบาทของสมาชิก
สมาชิกของสถาบันการเมืองการปกครองมีบทบาท เช่น นายกรัฐมนตรีมีบทบาท ในการเป็นผู้นําาฝ่ายรัฐบาล มีหน้าท่ีควบคุมดูแลการทําางานของคณะรัฐมนตรีและข้าราชการ ส่วนสมาชิกสภา ผแู้ ทนราษฎร มบี ทบาทในการตรวจสอบการทาํา งานของฝา่ ยรฐั บาล สาํา หรบั ประชาชนมบี ทบาทคอื รกั ษาสทิ ธิ เสรีภาพของตนเอง ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครอง
๕) สถาบันเศรษฐกิจ
เป็นสถาบันท่ีสนองความต้องการของสมาชิกในด้านปัจจัย ๔ และการบริการในด้าน สิ่งอําานวยความสะดวกต่าง ๆ ในการดําาเนินชีวิต
สถาบันเศรษฐกิจเป็นระบบหรือแบบแผนของการคิด และวิธีการทางด้านการผลิตและ การบริโภค ตลอดจนให้ความสะดวกในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
(๑) หน้าที่ของสถาบันเศรษฐกิจ
● จัดสรรและกระจายทรัพยากรทางเศรษฐกิจ เพ่ือตอบสนองความต้องการของ สมาชิก เช่น มีการผลิต การแบ่งปันวัสดุหรือบริการแก่สังคม
● พัฒนาและสร้างความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพ เพื่อ ความอุดมสมบูรณ์และความมั่นคงแก่สมาชิก
● ช่วยเหลือในการบริโภคให้เป็นไปได้อย่างพอเพียงและท่ัวถึง ● ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภค
● เป็นองค์ประกอบท่ีสําาคัญในการสร้างรากฐานทางการเมือง
(๒) บทบาทของสมาชิก
สมาชิกของสถาบันเศรษฐกิจมีบทบาทตามสถานภาพ เช่น ผู้จัดการมีบทบาทใน การบริหารและรับผิดชอบบริษัทห้างร้านให้ดีที่สุด ชาวนาชาวไร่มีบทบาทในการผลิตสินค้าทางการเกษตร เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้บริโภค สําาหรับเยาวชนท่ีมีสถานภาพเป็นผู้บริโภคหรือผู้รับบริการมี บทบาทในการรักษาสิทธิของผู้บริโภค
สังคมของเรา 13


































































































   13   14   15   16   17