Page 13 - พระพุทธศาสนา ม 4-6
P. 13
๒.๓ ความเชอ่ื ในลทั ธอิ สิ ระตา่ ง ๆ ไดแ้ ก่ กลมุ่ นกั บวชผไู้ มย่ อมรบั ความเชอ่ื เดมิ ในศาสนาพราหมณ์ แตม่ คี วามตอ้ งการคน้ หาความจรงิ อยา่ งอสิ ระ จงึ ตงั้ สา นกั ของตนเองขนึ้ เพอื่ สอนผคู้ นทม่ี คี วามเชอื่ เหมอื น
ตนเอง
กลุ่มลัทธิอิสระมี ๖ คน ได้แก่ ปูรณกัสสปะ มักขลิโคศาละ อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ
สัญชัยเวลัฏฐบุตร และนิครนถ์นาฏบุตร ครูทั้ง ๖ คนนี้ ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ในสมัยนั้น เพราะมีอายุมาก และมีลูกศิษย์มากมาย บางลัทธิ เช่น ครูสัญชัย เคยเป็นอาจารย์ของพระสารีบุตรและ พระโมคคัลลานะ ก่อนที่ทั้งสองท่านจะมาบวชในพระพุทธศาสนา และอีกท่านคือ นิครนถ์นาฏบุตร หรือ พระมหาวีระ ศาสดาของศาสนาเชน ลัทธิน้ีมีทัศนะท่ีคล้ายคลึงกับพระพุทธศาสนา เช่น ในเรื่องสาเหตุ แห่งทุกข์ และวินัย ๕ ซึ่งคล้ายกับศีล ๕ ข้อของพระพุทธศาสนา
๓. พระพุทธเจ้าในฐานะเป็นมนุษย์ผู้ฝึกตนได้อย่างสูงสุด
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สาคัญศาสนาหนึ่งของโลก ถือว่าเป็นมรดกแห่งอารยธรรมทางปัญญา ของมนษุ ยชาติอา นวยประโยชนส์ ขุ เปน็ อนั มากใหแ้ กช่ าวโลกพระพทุ ธศาสนาถอื กา เนดิ ขนึ้ โดยพระพทุ ธเจา้ เป็นผู้ประกาศพระศาสนา พระองค์มีพระชนม์อยู่ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ทรงเป็นผู้ค้นพบหลักความจริง ของสิ่งมีชีวิต รวมถึงสรรพสิ่งที่ไม่มีชีวิต นั่นคือ อริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ซึ่งเกิดจาก การที่พระพุทธองค์ทรงเจริญสมาธิ เรียกว่า “เข้าญาณ” จนพระทัยแน่วแน่เกิดบรรลุวิชชา ๓ ประการ ดังนี้
๑. ปฐมยาม (ประมาณ ๓ ทมุ่ ) ทรงบรรลปุ พุ เพนวิ าสานสุ สตญิ าณ (ปบุ -เพ-น-ิ วา-สา-นดุ -สะ-ต-ิ ยาน) หมายถึง ความรู้แจ้งในอดีตชาติทั้งของตนเองและผู้อื่น
๒. มัชฌิมยาม (ประมาณเที่ยงคืน) ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ (จุ-ตู-ปะ-ปา-ตะ-ยาน) หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความจุติ คือ การเกิดและดับของสัตวโลก หรือการเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์
๓. ปัจฉิมยาม (หลังเท่ียงคืนล่วงแล้ว) ทรงบรรลุอาสวักขย- ญาณ(อา-สะ-วกั -ขะ-ยะ-ยาน)หมายถงึ ความรแู้ จง้ ถงึ ความสนิ้ ไปของ กิเลส และอริยสัจ ๔
ผลจากการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ทาให้พระพุทธองค์ ทรงค้นพบความจริงในเรื่องต่อไปนี้ คือ
๑. ทรงทราบว่าการเวียนว่ายตายเกิดมีจริง
๒. ทรงทราบว่าคนตายแล้วหากยังมีกิเลสก็ต้องเวียนว่าย ตายเกิดต่อไป ถ้าสิ้นกิเลสแล้วการเวียนว่ายตายเกิดก็ยุติลง
๓. ปัจจัยที่ทาให้คนเวียนว่ายตายเกิดมีความแตกต่างกัน ในด้านต่าง ๆ รวมถึงกรรมที่แต่ละคนทาไว้ในแต่ละชาติ
๔. ภพภูมิต่าง ๆ มีจริง
๕. ทรงบรรลุพระนิพพานตัดกิเลสได้เด็ดขาด
พระพุทธเจ้าทรงบาเพ็ญเพียร ทางจิตด้วยความต้ังมั่น ทรงได้รับ การยกย่องว่าเป็นผู้ฝึกฝนและอุทิศตน อย่างยอดเย่ียม
ความเป็นมาของพระพุทธศาสนาและพุทธประวัติ 11