Page 221 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม
P. 221

153
อาการพระไตรลักษณ์นะ นี่คือเจตนาที่จะรู้อาการกระทบของฟันกระทบกับอาหาร หรือฟันกระทบกัน ที่ กระทบแล้วดับ กระทบแล้วดับ กระทบวับว่าง วับว่าง วับว่าง วับแล้วหาย วับหาย วับหาย อันนี้ยังไม่พูด ถึงรสชาติของอาหารนะ อันนี้คือเฉพาะอาการกระทบ
ทนี คี้ อื ถา้ พจิ ารณา ตรงนเี้ ขาเรยี กกา หนดอาการของอริ ยิ าบถยอ่ ย แลว้ ถา้ เกดิ อาการกระทบนนั้ อยใู่ น ที่ว่าง ๆ สังเกตว่าอาการกระทบที่เกิดดับไป สนใจอาการกระทบเกิดดับ ๆ ๆ มุ่งไปที่อาการพระไตรลักษณ์ อันนี้อย่างหนึ่ง และอาการพระไตรลักษณ์อาการเกิดดับตรงนี้ ไม่ต่างกับการกาหนดพองยุบ ไม่ต่างกับการ กาหนดอาการเกิดดับของเสียง เพราะเขาจะเหลือแต่อาการเกิดดับ ของอาการขยับการเคลื่อนไหว แล้ว ถ้าขยับอยู่ในที่ว่าง ๆ สิ่งที่ตามมาก็คือว่า ถ้าเราสังเกตอาการเกิดดับตรงนี้มาก ๆ ให้ชัดขึ้นเรื่อย ๆ ที่เป็น ปรมัตถ์สิ่งหนึ่ง
บางครงั้ จะทา ใหเ้ รารรู้ สชาตขิ องอาหารนนี่ ะ...ดอ้ ยไปเลย มนั จะหายไปเหลอื แตอ่ าการกระทบ รสชาติ อร่อยไม่อร่อยไม่เกี่ยว ฉันสังเกตอาการเกิดดับ แล้วทานไปได้สบาย ๆ นะ อาหารก็ลงไปกลืนไป วิธีก็คือ ว่าแม้แต่กลืน...สังเกตนะว่า อาการกระทบอาการเกิดดับของการกระทบเขาเกิดอยู่ที่ไหน เกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ หรืออยู่ในปาก ลองดูนะเอาความรู้สึกที่ว่าง ๆ มาใส่ในปากเรา ตอนนี้รู้สึกเป็นอย่างไร แล้วตรงที่ฟัน กระทบกัน มีรูปร่างของปากไหม หรือแค่รู้สึกว่าง ๆ แล้วก็มีจุดกระทบ นี่คือการกาหนดรู้ถึงจุดกระทบถึง อาการผัสสะ อาการเกิดดับของอิริยาบถย่อยตรงนี้จะชัด
ทีนี้ลองดูว่าเวลาเรากลืนอาหาร เวลากลืนปุ๊บนี่นะ อาการกลืนที่ลงไป ลงไปที่ไหน ลงไปที่คอ ที่ ท้อง ที่ลาไส้ ไปที่กระเพาะ หรือไปที่ไหน มันก็ต้องลงไปอย่างนั้นแหละนะ ถ้าลงไปต่างจากนั้น ก็ผิดปกติ แล้วแหละ แต่จริง ๆ สังเกตดู ลองดูนะตอนนี้ พอเรากลืนน้าลาย ลองดูว่าเขาลงไปที่ไหน มีรูปร่างของคอ ไหม มีหลอดอาหารไหม มีลาไส้ไหม หรือหายลงไปในที่ว่าง ๆ ตรงนี้แหละ ที่จะคาบเกี่ยวระหว่างสัญญา ที่เกิดขึ้นกับความรู้สึกจริง ๆ สัญญานี่นะ เรามักจะใช้สัญญาจาว่า ลงโดยธรรมชาติเรา เวลาอาหารลงไป ในหลอดคอไปลงไปปุ๊บนี่นะ จากลาคอถึงกระเพาะถึงลาไส้ไหลไปเรื่อย ๆ ไปถึงจุดหมายปลายทางของเขา แต่ในขณะเดียวกันลองดูสิว่า ถ้าจิตที่ว่าง ๆ ไปรู้เวลาที่สัมผัส เวลารู้คือ รู้แต่อาการจุดที่ยังมีการสัมผัสอยู่ ที่มีอาการหลังจากนั้นก็เป็นความว่างเปล่า กลืนลงไปในที่ว่าง ๆ กลืนลงไปไหลลงไปในที่ว่าง ๆ ตรงนี้ต้อง สังเกตว่า กลืนลงไปแล้วหายแบบไหน จางหายไป เลือนหายไป เห็นอาการเกิดดับของอาการอิริยาบถ ย่อย นี่คือการกาหนดรู้
ทีนี้พอตักใหม่ สังเกตว่าพอเอื้อมมือไปปุ๊บ อาการที่เคลื่อนมือไปตักอาหารใหม่นี่นะ เขาเป็นเส้น หรือว่าเบา ๆ ว่าง ๆ กระทบแก๊ก...หายไป แล้วก็ยกขึ้นมาเข้าปากก็ว่างหายไป แล้วอาการเคี้ยวก็เกิดขึ้นต่อ ตรงนี้แหละที่เราบอก เราพิจารณาในการกาหนดการเคี้ยวการตักการยก ที่เราทาแบบช้า ๆ ช้าอย่างเดียว โดยที่ไม่สังเกตอาการ สติของเราก็จะรู้ว่า ช้าเดี๋ยวรู้สั่น ๆ ๆ อันนี้จะหกไม่หก บางคนช้าเกิน สั่น ๆ ๆ กลายเป็นการเม็ดข้าวหกไป เรายกขึ้นมาแล้วก็ตักรู้สึกถึงอาการ กาหนดรู้แบบนี้ในทุก ๆ อิริยาบถ แล้วอยู่ ในที่ว่าง ๆ


































































































   219   220   221   222   223