Page 339 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม
P. 339

271
ย้อนกลับมาพิจารณาแบบนี้ ก็จะรู้สึกว่าเราเป็นเพียงผู้รู้อยู่เฉย ๆ เท่านั้นเอง เราไม่ได้เป็นความคิด ความ คิดไม่ใช่ของเรา แต่ก็จะยึดตัวผู้รู้นี้ว่าเป็นเราอีก กลายเป็นเราไปโดยปริยายเพราะความไม่รู้
เพราะฉะนนั้ การเจรญิ กรรมฐานจงึ พจิ ารณาทงั้ รปู และนาม ทงั้ ความคดิ ทเี่ กดิ ขนึ้ และจติ ทที่ า หนา้ ที่ รวู้ า่ คดิ เองวา่ เมอื่ เปน็ คนละสว่ นกนั แลว้ ความคดิ ไมไ่ ดเ้ ปน็ ของเรา แลว้ ตวั จติ ทที่ า หนา้ ทรี่ เู้ ปน็ ของเราไหม ? พอมาดูจิตที่ทาหน้าที่รู้ไม่บอกว่าเป็นเรา รู้อย่างสงบ รู้ด้วยความรู้สึกที่ว่าง ๆ อยู่ ถ้าพิจารณาต่อไปอีก พิจารณาในหลักเดียวกันแบบพิจารณาอาการของเวทนาหรือความคิดว่า แม้ตัวจิตที่ทาหน้าที่รู้ว่าว่างเอง เขาดับไหม ? รู้ว่าว่างแล้วก็ดับไป เป็นจิตดวงเดียวอยู่อย่างนี้จริง ๆ หรือไม่ ? แล้วเอาอะไรไปดูก็ในเมื่อ เป็นจิตดวงเดียว ?
จิตทาหน้าที่รับรู้อารมณ์อื่นด้วยแล้วก็รู้ตัวเองได้ด้วย แล้วจะเอาจิตดวงไหนไปดู ? จิตดวงนี้แหละ ที่เขารู้ตัวเอง ที่บอกว่ารู้สึกได้ทันที รู้สึกทันทีว่าตัวรู้นี่ รู้ว่าว่างแล้วเขาดับไหม รู้ว่าสงบแล้วเขาดับไหม ? รู้ตัวเองตรงนั้นเลย ไม่ต้องไปหาว่าจะเอาจิตดวงไหนไปดู แค่สังเกตตัวเขาเองเท่านั้น เขารู้ว่าว่างแล้วก็ดับ รู้ว่าสงบแล้วก็ดับ... กลายเป็นว่านี่คือรู้อาการเกิดดับของตัววิญญาณรู้ ตัววิถีจิตที่เกิดขึ้นมาทาหน้าที่รับรู้ แล้วก็ดับไป เกิดขึ้นมา-รับรู้-ดับไป... สังเกตต่อ ยิ่งเห็นอาการเกิดดับของจิตตรงนี้ แล้วจิตดวงใหม่ที่เกิด ขึ้นมาเป็นอย่างไร ? ต่างจากจิตดวงก่อนหน้านี้อย่างไร ? เขาใสขึ้น สงบขึ้น ตั้งมั่นขึ้น สะอาดขึ้นอีกไหม ? นี่คือการรู้การเกิดดับของอารมณ์ของรูปนาม
เพราะฉะนั้น ในการเจริญกรรมฐานเราต้องเข้าใจหลักตรงนี้ คาว่า “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” การรู้ กฎของไตรลักษณ์ของรูปนาม จะต้องรู้ในลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง ให้อยู่ในลักษณะเดียวกัน ก็คือว่าเป็นสภาวธรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว เขาก็ย่อมมีการ เปลี่ยนแปลงเกิดดับ แต่ที่เรารู้สึกว่าไม่ดับก็เพราะว่าอารมณ์นั้นดับช้ากว่าที่คิด ยกตัวอย่าง เวลามีเวทนา มีความปวดเกิดขึ้นมา เราดูอย่างไรก็ไม่เห็นดับเลย เห็นแต่ปวดมากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น... นั่ง ๓๐ นาทีก็ ปวดมากขึ้น ๆ ไม่เห็นดับเลย แต่พอขยับปึ๊บเวทนาก็หายไป... ตอนขยับเวทนาหายไปนี่เราจะไม่สนใจว่า เขาดับ รู้แต่ว่ามันหายไปแล้ว
เมื่อกี้สู้เวทนานานมาก เวทนาไม่ยอมดับเลย! แล้วตอนนี้ดับหรือยัง ? ดับแล้ว แล้วไหนบอกว่า เขาเที่ยง ? เพราะเราอยากเห็นการดับเร็ว แต่พอไม่เป็นอย่างที่คิดก็เข้าใจว่าเขาไม่ดับ พอเข้าใจว่าไม่ดับ กลายเป็นว่าจิตของเราไปยึดว่าเป็นของเที่ยงโดยปริยาย เพราะถึงแม้เวทนาหายไปแล้ว แต่ความรู้สึกในใจ เรา/สัญญาของเรายังรู้สึกว่าเวทนานั้นยังตั้งอยู่ยังเที่ยงอยู่ เพราะเขาไม่ได้ดับไปจากใจจากความรู้สึกหรือ ความเชื่อของเรา เพราะมีตัวตน สัญญาตรงนี้แหละที่เราไปยึดว่าเป็นของเที่ยง เหมือนต้องเป็นอยู่อย่างนั้น เดยี๋ วนงั่ อกี -เจออกี -สอู้ กี -ทนไมไ่ ดอ้ กี นกึ วา่ บลั ลงั กก์ อ่ นกบั บลั ลงั กน์ เี้ ปน็ เวทนาอนั เดยี วกนั เพราะในความ รู้สึกของเราเวทนาไม่เคยหายไป
แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราใส่ใจกาหนดรู้เวทนาที่เกิดขึ้น ถึงแม้ตอนที่กาหนด เวทนานั้นยังไม่หายไป อย่างสิ้นเชิง ยิ่งรู้เวทนายิ่งแก่กล้าขึ้นจนทนไม่ไหว แต่พอขยับ มีสติและสังเกต เวทนานั้นเริ่มกระจาย ๆ


































































































   337   338   339   340   341