Page 340 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม
P. 340
272
คลาย แล้วบางไป แล้วก็ดับไป ว่างไป... นี่คือเห็นการดับของเวทนาอย่างหนึ่ง พอบัลลังก์ถัดไป เวทนา เกิดขึ้นมาใหม่ สังเกตว่า เวทนาที่เกิดขึ้นมาใหม่ เขาค่อย ๆ เกิดขึ้น หรืออยู่ ๆ แปล๊บขึ้นมาเลย อาการของ เวทนาต่างไปอย่างไร ? ถ้าเราไม่สนใจความแตกต่างตรงนี้ เราจะรู้สึกว่าบัลลังก์ไหนก็มีแต่เวทนา อันนี้คือ ขาดการพิจารณา เพราะตรงนี้จะเป็นปัญญา เป็นลักษณะของสภาวญาณ เป็นการคลายอุปาทานของเรา นี่แหละทาไมถึงต้องให้สังเกตอาการพระไตรลักษณ์ตรงนี้
เมื่อรู้และเข้าใจหลักของการปฏิบัติแล้ว เราจะต้องไม่ลืมนะ ทุก ๆ อาการที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เวทนา ความคิด ลมหายใจ ความเย็น-ร้อน-อ่อน-แข็ง-เคร่ง-ตึง-หนัก-เบา อิริยาบถย่อยต่าง ๆ รูป-เสียง- กลนิ่ -รสทเี่ กดิ ขนึ้ เมอื่ ไหรก่ ต็ ามทเี่ รามเี จตนาเขา้ ไปรอู้ าการพระไตรลกั ษณ์ เขาจะเปลยี่ นเปน็ สภาวญาณทเี่ กดิ จากปัญญา ปัญญาเกิดขึ้นเห็นถึงความเป็นไป ตรงนี้จะทาให้จิตเราคลายอุปาทาน เห็นชัดเจนแจ่มแจ้ง มากขึ้นเรื่อย ๆ ในสภาวธรรมที่เป็นธรรมชาติของรูปนาม และเมื่อจิตเราเห็นความจริงของธรรมชาตินี้ มากเท่าไหร่ก็จะยิ่งคลายอุปาทาน ความทุกข์จะลดลงไปเรื่อย ๆ เรื่อย ๆ ตามกาลังของสติ-สมาธิ-ปัญญา ของเรา
เพราะฉะนั้น ขอให้เรามีความเพียร! เพียรปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง ใส่ใจอยู่เนือง ๆ คาว่า “ใส่ใจ เจรญิ กรรมฐานอยเู่ นอื ง ๆ” ไมใ่ ชว่ า่ ตอ้ งบงั คบั เสมอไป สงิ่ ทเี่ ราตอ้ งบงั คบั ตวั เองหรอื ฝนื ตวั เองกค็ อื ไมป่ ลอ่ ย ตามใจในความคิดที่ไม่ดี หรือถ้าจะทาไม่ดีก็ให้ฝืน ต้องอดทน ต้องเข้มแข็ง! เมื่อไหร่จะขี้เกียจก็ต้อง เพิ่มความเพียร เพิ่มความเพียร! ถ้าคนเรารู้ว่าสิ่งที่กาลังทาอยู่นั้นมีคุณค่ามีความสาคัญกับชีวิตแค่ไหน ความขี้เกียจก็จะน้อยลง แต่ถ้ารู้สึกว่าไม่สาคัญเท่าไหร่ ความขยันก็จะลดลงไปด้วยในตัว ความเพียรใน การปฏิบัติธรรมจะเป็นตัวพาเราให้หลุดพ้นจากวัฏสงสาร เข้าสู่มรรค ผล นิพพาน
วันนี้การแสดงธรรมมาก็เห็นว่าสมควรแก่เวลา ก็ขอหยุดไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอความเจริญในธรรม จงมีแก่โยคีญาติโยมทุก ๆ คน เจริญพร