Page 360 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม
P. 360
292
เพียร เพียรที่จะกาหนดรู้ถึง การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของอารมณ์ต่าง ๆ ให้มากขึ้น เพียรที่จะกาหนดรู้ สภาพจิตที่ดีขึ้นแล้ว รู้ต่อไป จิตที่เบาขึ้นแล้ว โล่งขึ้นแล้ว มีความเพียรเจริญกรรมฐานต่อเนื่อง เมื่อสติแก่ กล้าขึ้น ประกอบกับมีปัญญา รู้ว่าโทษของการคลุกคลีในอารมณ์นั้นเป็นอย่างไร การยินดี จนคลุกคลีใน อารมณ์นั้น จนขัดขวางการปฏิบัติธรรม การเดินทางของตนเองนั้นเป็นอย่างไร
แล้วควรจะสั่งจิตตัวเองให้เด็ดขาดว่า ต่อไปจะต้องระวังไม่คลุกคลีในอารมณ์ที่เข้ามา ที่ปรากฏขึ้น ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จนมาเป็นตัวขัดขวาง เป็นนิวรณ์ เป็นตัวขัดขวางการปฏิบัติธรรม การเดินทาง ไปสู่เป้าหมาย คือการดับทุกข์ของเรา อันนี้เป็นส่วนสาคัญ เพราะฉะนั้น ความยินดีพอใจในอารมณ์ที่เรียก ว่า กามฉันทะ ความยินดีพอใจในอารมณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เราติดอะไร เขาเรียกติดคุณของอารมณ์อันนั้น กามคุณอารมณ์คือ อารมณ์รู้สึกว่าเขาดีก็เลย...ติด เขา นั่นคืออย่างหนึ่ง
ทีนี้ การกาหนดรู้อาการเกิดดับของทุก ๆ อารมณ์ อย่างที่บอกแล้วว่า ไม่ว่าอารมณ์นั้นจะดีหรือ ไม่ดี ที่ปรากฏขึ้นมา ก็เข้าไปกาหนดรู้ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดดับอย่างไร แม้แต่สภาพจิตที่ดีขึ้นแล้ว มี ความว่าง มีความสงบ มีความตั้งมั่นขึ้นแล้ว ก็ยังกาหนดรู้ ว่าเขาเปลี่ยนอย่างไร เปลี่ยนเป็นความตั้งมั่น มากขึ้น ใสขึ้น สงบขึ้น ตรงนี้...กาหนดรู้ตรงนี้ นอกจากรู้ว่าตั้งมั่นมากขึ้น ใสขึ้น สงบขึ้น แล้วก็รู้คุณ คุณ ของจิตที่สงบ ที่ตั้งมั่น ที่ผ่องใสนั้น จิตที่ตั้งมั่นผ่องใสแล้วดีอย่างไร ป้องกันอกุศลที่จะเกิดขึ้น ที่จะอาศัย อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นได้มากแค่ไหน อายุอารมณ์ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นดับเร็วแค่ไหน
เพราะฉะนั้น การที่จะสานต่อ เป็นธรรมะที่ดีอยู่แล้ว เขาเรียกว่าธรรมะที่ดีอยู่แล้ว ธรรมที่มีอยู่แล้ว ทาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เราก็ต้องกาหนดรู้อย่างต่อเนื่อง...หมั่นเพียร ตรงนี้แหละ ความเพียรคือขยัน ขยันมี ความเพียร ที่จะกาหนดรู้อยู่เนือง ๆ อย่างที่บอกแล้วว่า ในทุก ๆ อิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทา พดู คดิ อริ ยิ าบถหลกั อริ ยิ าบถยอ่ ย มคี วามเพยี รไป พอมคี วามเพยี รแบบนไี้ ป นวิ รณต์ า่ ง ๆ เกดิ ความสงบ ปัญญาเกิดขึ้นมา ก็จะมีความเพียรต่อเนื่อง สติ สมาธิ ปัญญา แก่กล้าขึ้น การปฏิบัติธรรมก็จะก้าวหน้าขึ้น ไป เพราะฉะนั้น การกาจัดอารมณ์บางอย่าง นิวรณ์เหล่านี้ ก็ต้องมีความชัดเจน กาหนดรู้ให้ชัด
เพราะฉะนั้น เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้ว เราก็ต้องมีความเด็ดขาด มีความมุ่งมั่น มีความแน่วแน่ ที่จะเดิน ตามรอยของพระผมู้ พี ระภาคเจา้ พจิ ารณาธรรมะทเี่ กดิ ขนึ้ คา วา่ พยาบาท ความพอใจ ไมพ่ อใจ ทเี่ ราขดั เคอื ง เจอผัสสะต่าง ๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดความไม่ชอบ เกิดอาการไม่พอใจ อาการพยาบาท ติดอยู่ ในใจของเรา เห็นแล้วรู้สึกไม่สบายใจ ลองมองไปลึก ๆ สิว่า ทาไมเราต้องเก็บเอาไว้ อารมณ์เหล่านี้ เพราะ เก็บไว้เมื่อไหร่ ระลึกถึงเมื่อไหร่ ก็ขัดขวางการปฏิบัติธรรมของเรา ทาให้เกิดจิตขุ่นมัว จิตเศร้าหมอง
จริง ๆ แล้ว จิตที่ขุ่นมัวเศร้าหมอง เกิดขึ้นจากผัสสะ ไม่ว่าจะเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้ เป็นเรื่องธรรมดาสาหรับผู้ที่ยังปฏิบัติ ผู้ที่ยังฝึกอยู่ เพียงแต่ว่าเจตนาของเรา อย่างที่บอกว่า เจตนาหรือ เป้าหมายของเรา ต้องชัดเจนว่า เราจะละอารมณ์เหล่านี้ เพราะว่าเกิดขึ้นมาเมื่อไหร่ ทาให้การปฏิบัติธรรม ไม่ดี สิ่งที่จะตามมาด้วยคือ ฟุ้งซ่านราคาญ เกิดอาการกระสับกระส่าย หงุดหงิดราคาญใจ เกิดอาการ