Page 383 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม
P. 383

315
พระไตรลักษณ์หรืออาการเกิดดับของทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องมีเป้าหมายและมีเจตนาที่จะละ อกุศลที่เกิดขึ้น ความรู้สึกที่ไม่ดี ความคิดที่ไม่ดี การกระทาที่ไม่ดี คาพูดที่ไม่ดีของเรา...ละออกไป ละออก ไป! อันไหนที่ไม่ดี ละออกไป
แต่ทั้งหลายทั้งปวง คาพูดที่ไม่ดี การกระทาที่ไม่ดี สิ่งที่ปรากฏเกิดขึ้นในใจเราก่อนเสมอก็คือ ความคิด อาจจะไม่มีเจตนาที่จะคิดไม่ดีแต่คิดได้ไม่ดี เมื่อมีการกระทาลงไปแล้วทาให้มีปัญหาเกิดขึ้น ตามมา ถ้าเราหมั่นพิจารณาการกระทาทางกายทางวาจาของเราบ่อย ๆ เราจะเห็นตัวเองชัดขึ้นว่าเราต้องแก้ อะไร ละอะไร ถึงแม้เราจะเห็นทีละอย่าง ทีละอย่าง ทีละเรื่องก็ตาม การเห็นทีละอย่างดีอย่างหนึ่งก็คือ จะ ทาให้เราไม่สับสน จะได้ละทีละอย่าง ทีละเรื่องไป แต่ถ้าเราเห็นอันนั้นก็ไม่ดีอันนี้ก็ไม่ดี ไม่ดีเต็มไปหมด... บางครั้งก็ละยาก หรือเกิดความกังวลว่าจะดับตรงไหนก่อนดี
ทุกครั้งที่เรามีเจตนาที่จะรู้อาการเกิดดับของรูปนามหรือของสภาวธรรมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เดี๋ยวนี้ เป็นการจัดระเบียบของอารมณ์ เห็นถึงธรรมชาติของอารมณ์ที่เกิดขึ้นว่าเขาเป็นไปในลักษณะ อย่างไร คาว่า จัดระเบียบของอารมณ์ จะรวมทั้งจัดระเบียบความคิดเราเอง ถ้าเมื่อไหร่ที่เราเห็นอาการ เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป แม้แต่ความคิดที่เห็นเกิดขึ้นมาแล้วดับไป ถึงจะเป็นเรื่องเดิม ๆ เกิดซ้าแล้วซ้าอีก ซ้าแล้วซ้าอีกก็ตาม เมื่อเรามีความพอใจที่จะกาหนดรู้ถึงการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปของความคิด ว่าในแต่ละ ขณะมีความต่างกันอย่างไร ในแต่ละขณะมีความต่างกันอย่างไร... จิตก็จะเป็นระเบียบมากขึ้น
ทาไมถึงเป็นระเบียบมากขึ้น ? เพราะการมีเจตนาที่จะรู้อาการเกิดดับของอารมณ์/ของความคิด ทกี่ า ลงั เกดิ ขนึ้ อยขู่ ณะนเี้ ดยี๋ วนนี้ นั้ เปน็ การรอู้ ารมณป์ จั จบุ นั เมอื่ สตเิ รารอู้ ยกู่ บั อารมณป์ จั จบุ นั อยา่ งตอ่ เนอื่ ง สมาธิก็จะตั้งมั่นขึ้น ตั้งมั่นขึ้น... ยิ่งพิจารณาเข้าไปกาหนดรู้อย่างไม่มีตัวตน อย่างที่บอกว่ารู้อยู่ในความว่าง เห็นว่าความคิดนั้นเกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ แล้วดับไป เกิดแล้วดับไป เกิดแล้วดับไป... ยิ่งรู้ในความว่างเท่าไหร่ จิตก็ยิ่งตั้งมั่นมากขึ้นเรื่อย ๆ สงบมากขึ้นเรื่อย ๆ ความเป็นระเบียบของความคิดมีมากขึ้น จิตเราก็จะยิ่ง เป็นระเบียบมากขึ้น จะไม่มีอาการสับสนวุ่นวายอาการกระสับกระส่ายก็จะลดลง หรือหายไปในที่สุด
และยิ่งกาหนดรู้ด้วยความรู้สึกที่ไม่มีตัวตน และเห็นความคิดเกิดขึ้นอยู่ในที่ว่าง ๆ ถ้าเราพิจารณา ถึงธรรมชาติของความคิด ธรรมชาติของตัวสังขาร ธรรมชาติของตัวสัญญา อย่างที่บอกว่าเราปฏิบัติธรรม เพื่อศึกษาเขา พิจารณาธรรมชาติของรูปนามขันธ์ห้านี่แหละว่าจริง ๆ เขาเป็นอย่างไร ยิ่งเราเข้าใจถึงว่า ความคดิ ทเี่ กดิ ขนึ้ กบั ความรสู้ กึ หรอื จติ ทที่ า หนา้ ทรี่ .ู้ ..เปน็ คนละสว่ น เหน็ ชดั ถงึ ความเปน็ คนละสว่ น เราเปน็ ผู้ดูความคิดหรือเราเป็นผู้ตามกาหนดรู้ความคิด ยิ่งเห็นความคิดดับไปมากเท่าไหร่ สภาพจิตยิ่งสงบหรือ ยิ่งผ่องใสมากขึ้นเท่านั้น เมื่อเห็นในลักษณะอย่างนี้ เราทาความเข้าใจถึงความเป็นไปของความคิด แล้วเรา ควรจะให้ความสาคัญตรงจุดไหน ?
ความสาคัญของความคิดที่เกิดขึ้น เราไปให้ความสาคัญถึงการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ถึงลักษณะ ที่เป็นสัจธรรมที่เป็นไตรลักษณ์ ว่าเขาเกิดแล้วดับในลักษณะอย่างนี้ อย่างนี้... อันนี้คือจุดหนึ่ง และเมื่อ เห็นอาการเกิดดับของความคิดที่เปลี่ยนไป จิตใจรู้สึกสงบมากขึ้น ตั้งมั่นขึ้น หรือกว้างขึ้น ผ่องใสขึ้น เรา


































































































   381   382   383   384   385